Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12477
Title: คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในถังเชื้อเพลิงอากาศยาน : กรณีศึกษาศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
Other Titles: Safety manual in aircraft fuel tank : case study of Utapao Aircraft Maintenance Center Thaiairways International Co. Ltd.
Authors: สุดาว เลิศพิสุทธิไพบูลย์
วิชิต มีบุญล้ำ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เชื้อเพลิง
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ถังเชื้อเพลิงอากาศยานเป็นพื้นที่สำหรับเก็บเชื้อเพลิงของอากาศยานซึ่งจัดเป็นที่อับอากาศ ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะรูปทรงที่แตกต่างจากที่อับอากาศทั่วไปด้วยพื้นที่ที่จำกัดและรูปร่างที่คับแคบ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสเกิดอันตรายสูง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานและจากสารเคมี ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และต้องศึกษาทำความเข้าใจถึงวิธีการที่ถูกต้องก่อนเข้าปฏิบัติงาน การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงานสำหรับ พนักงานที่ปฏิบัติงานภายในถังน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานโดยมุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน มีระบบการจัดการที่ดี และข้อระมัดระวังอันตรายมที่อาจเกิดจากการซ่อมบำรุงภายในถังน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีขั้นตอนการจัดทำคู่มือเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรม ศึกษาข้อมูลจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือการซ่อมบำรุงอากาสยานจากบริษัท ผู้ผลิตอากาศยาน เอกสารทางวิชาการ และรายงานการประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานภายในถังเชื้อเพลิงอากาศยานผลจากการศึกษาค้นคว้าจึงได้คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในถังเชื้อเพลิงอากาศยานประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ได้แก่ บทนำ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในถังเชื้อเพลิงอากาศยาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในถังเชื้อเพลิงอากาศยาน การปฐมพยาบาลกรณีประสบอันตรายจากการปฏิบัติงานในถังเชื้อเพลิงอากาศยาน และเหตุฉุกเฉินและขั้นตอนการระงับเหตุฉุกเฉินแต่อย่างไรก็ตาม ในการนำคู่มือมาใช้งานควรมีการประเมินโดยผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในถังเชื้อเพลิงอากาศยานในส่วนอื่นๆโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำวัสดุมาใช้ในถังเชื้อเพลิงอากาศยานในแต่ละบริษัทผู้ผลิตอากาศ ยานที่แตกต่างกันจึงควรศึกษาความเป็นไปได้ที่ จะนำวัสดุชนิดเดียวกันมาใช้ให้เป็นระบบเดียวกันกับอากาศยานทุกแบบที่มีใช้ในบริษัท
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12477
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_126661.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons