Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12508
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorดรรชนี มหาชานิกะth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-13T06:31:29Z-
dc.date.available2024-07-13T06:31:29Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12508en
dc.description.abstractการศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ดีเด่นระดับเขตปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรู้ / ทัศนคติของผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ (2) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็ก (4) ปัจจัยภายในตัวบุคคลกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กและ (5) การสนับสนุนภาครัฐ / เอกชน / ผู้ปกครองและชุมชนกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็ก ดำเนินการศึกษาแบบเชิงพรรณนา ประชากรที่ศึกษาคือผู้ปกครองเด็กที่นำบุตรหลานมาฝากดูแลในศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ดีเด่นระดับเขตปี 2547 จานวน 25 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 340 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความรู้ของผู้ปกครองเด็กอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.4 และทัศนคติของผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.1 (2) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.7 (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทัศนคติของผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่อยู่ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5) การสนับสนุนจากภาครัฐ / เอกชน /ผู้ปกครองและชุมชน กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะ (1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการเด็กและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี (2) ผู้บริหารศูนย์เด็กเล็กและผู้ดูแลเด็กควรสื่อสารกับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอและแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงสุขภาพ พัฒนาการของเด็ก ควรชักชวนให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการพัฒนา (3) ศูนย์เด็กเล็กควรจัดมุมข่าวสารความรู้ให้กับผู้ปกครองเพื่อบอกความก้าวหน้าในการดำเนินงาน การส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาการเด็กและอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก (4) ภาครัฐควรรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนา ฯth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ดีเด่นระดับเขตปี 2547th_TH
dc.title.alternativeParents' participation in development of certified best quality healthy child care center at regional level in 2004th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ( บริหารสาธารณสุข )th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_85767.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons