Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12511
Title: แนวทางการนำแก๊สมีเทนที่เกิดจากหลุมฝังกลบขยะมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
Other Titles: Uidelines for recovery utilization of methane gas from landfill in Thailand
Authors: สมทรง อินสว่าง
จรัลรัตน์ เล็กรุ่งเรืองกิจ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ก๊าซชีวภาพ--ไทย
พลังงานจากขยะ--ไทย
พลังงานทดแทน--ไทย
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การกำจัดมูลฝอยโดยการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดแก๊สมีเทนภายใน หลุมฝังกลบ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และรวบรวมข้อมูลในเรื่องการรวบรวมแก๊สจากการฝังกลบขยะมูลฝอยแบบสุขาภิบาลรวมทั้งศึกษาและรวบรวมแนวทางการใช้ประโยชน์จากแก๊สมีเทนที่เกิดจากการฝังกลบขยะมูลฝอยโดยศึกษาจากการตรวจสอบเอกสารทางวิชาการต่างๆ เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น และสภาพปัจจุบันของระบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลต่างๆ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำแก๊สมีเทนที่ได้มาใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการศึกษาวิจัยนี้ จากการตรวจสอบเอกสารต่างๆ สรุปได้ว่า ปริมาณแก๊สจากการฝังกลบขยะมูลฝอย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึกของพื้นที่ฝังกลบมูลฝอย แก๊สชีวภาพนี้ประกอบด้วยแก๊สมีเทน ร้อยละ 45-60 นอกนั้นเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สอื่นๆ เล็กน้อย ปัจจัยที่มีผลกับปริมาณแก๊ส ได้แก่ องค์ประกอบของขยะมูลฝอย ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความหนาแน่นของการฝังกลบ ปริมาณสารอาหาร การปนเปื้อนของสารพิษ และขนาดของอนุภาค แก๊สมีเทนที่ได้สามารถเก็บรวบรวมนำไปใช้ประโยชน์เพื่อผลิตพลังงานความร้อน ผลิตพลังงานกล / ไฟฟ้า และผลิตพลังงานร่วม การปรับปรุงคุณภาพแก๊สทำได้โดยการแยกความชื้นแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก และศึกษาขั้นตอนในการประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ ถึงความเหมาะสมต่อการลงทุนเพื่อดำเนินงานในประเทศไทย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12511
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_85771.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons