กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12517
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแนวทางดำเนินงานโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงพยาบาลศูนย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of hearing conservative program guideline in Uttaradit Regional Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ สุธรรมาสา กาญจนา แซ่จึง, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การได้ยิน การได้ยินผิดปกติ การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ มลพิษทางเสียง |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ประเมินการสัมผัสเสียงและการสูญเสียการ ได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานที่มีเสียงดัง โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงพยาบาลผู้ศึกษาได้ประเมินการสัมผัสเสียงของผู้ปฏิบัติงานซักฟอก โภชนาการ ซ่อมบำรุง กายอุปกรณ์ ศูนย์จ่ายกลาง ผลิตน้ำเกลือ ทันตกรรม ห้องเฝือก งานศิลป์ฝ่ายสุขศึกษา และประเมินการสูญเสียการได้ยินของผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับเสียงดังเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA 8 ชั่วโมง) >85เดซิเบล(เอ) และจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงพยาบาล โดยดัดแปลงจากหลักการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับประเทศไทยของรองศาสตราจารย์สราวุธ สุธรรมาสา และนำโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่จัดทำขึ้น สอบถามความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องและนำมาปรับปรุงโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงพยาบาลผลการศึกษาพบว่า(1) ผู้ปฏิบัติงานซักผ้า งานล้างถาดอาหาร งานไม้ งานเหล็ก งานอลูมิเนียม งานทำอุปกรณ์แขนขาเทียม สัมผัสเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน TWA 8 ชั่วโมง >85 เดซิเบล(เอ) จากการประเมินการสูญเสียการได้ยินของผู้ปฏิบัติงานพบความพิการทางหูในระดับ 2 และระดับ 3 ร้อยละ 26.1 เมื่อคิดจากร้อยละการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน พบการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินของหูทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นการสูญเสียสมรรถภาพทั้งร่างกาย(ร้อยละ 1-6) ร้อยละ 13.0 และ(2) ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์การได้ยินทุกคน เห็นด้วยกับแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงพยาบาลที่จัดทำขึ้น และผู้ศึกษาได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขโครงการอนุรักษ์การได้ยินในแต่ละองค์ประกอบ และจัดทำเป็นโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่สมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการมลพิษทางเสียงในโรงพยาบาล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12517 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_109286.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License