Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ สุธรรมาสาth_TH
dc.contributor.authorชัยรัตน์ อุ่นคำth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-13T08:01:56Z-
dc.date.available2024-07-13T08:01:56Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12519-
dc.description.abstractในการตรวจวัดสุขศาสตร์สิ่งแวดล้อมในโรงงาน โดยเฉพาะการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่ทำงานมีความสำคัญอย่างมาก เครื่องวัดแสงสว่างเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง ผู้ศึกษาจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือต้นแบบขึ้นให้สามารถใช้งานได้ง่าย และมีราคาประหยัดที่สุดโดยใช้งบประมาณ 1,500 บาท การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อออกแบบและสร้างอุปกรณ์ในการตรวจวัดแสงในพื้นที่ทำงานของโรงงานให้มีราคาถูก โดยได้ศึกษารายละเอียดวิธีการตรวจวัดแสงจากเครื่องวัดแสง HIOKI รุ่น 3421 ซึ่งเป็นเครื่องที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อจัดทำเครื่องต้นแบบขึ้นแล้วนำไปทำการทดสอบการใช้งานโดยผู้ศึกษาได้เชิญ เจ้าหน้าที่จากกลุ่มงานอาชีวสุขศาสตร์และนิรภัยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 ชลบุรี มาช่วยทำการทดสอบเครื่องมือและให้คำปรึกษาในเรื่องการตรวจวัดด้วย โดยการทดสอบแบ่งเป็นสามส่วน คือทดสอบโดยการนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปเปรียบเทียบกับเครื่องต้นแบบในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน จำนวน 10 ระดับความสว่าง และนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปตรวจวัดเปรียบเทียบกับเครื่องต้นแบบในสถานประกอบการจำนวน 15 จุดตรวจวัด ตามมาตรฐานของกฎกระทรวงแรงงาน และหลังจากการทดสอบแล้วได้นำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ไปทำการสอบเทียบกับสถาบันที่ได้มาตรฐานของสถาบันมาตรวิทยา จากการศึกษาผลการทดสอบในครั้งนี้พบว่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน จำนวน 10 ระดับความสว่าง มีค่าความคลาดเคลื่อน 1.01% และการตรวจวัดแสงจริงในสถานประกอบการ ตามมาตรฐานของกฎกระทรวงแรงงาน มีค่าความคลาดเคลื่อน 2.19% การสอบเทียบกับสถาบันที่ได้มาตรฐานของสถาบันมาตรวิทยา มีค่าความคลาดเคลื่อน 0.28% ซึ่งเมื่อเฉลี่ยค่าความคลาดเคลื่อนจากผลการทดสอบทั้งหมดมีค่าเพียง 1.08% จึงสามารถสรุปได้ว่า อุปกรณ์ต้นแบบที่จัดทำขึ้นสามารถนำไปใช้ตรวจวัดแสงในสถานประกอบการได้ จากการศึกษาในครั้งนี้ หากมีผู้สนใจนำไปพัฒนาต่อไป ผู้ค้นคว้าอิสระมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมนำชิ้นงานนี้ส่งให้ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการตรวจวัดสุขศาสตร์โรงงานได้นำไปทดสอบใช้งานจริง ในพื้นที่ทำงานของโรงงานต่างๆ เพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการทำงานจริงมาปรับปรุงอุปกรณ์ต้นแบบ และสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเครื่องตรวจวัดแสงสว่าง--การออกแบบth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleการออกแบบสร้างเครื่องตรวจวัดแสงสว่างth_TH
dc.title.alternativeDesign and construction of lux meterth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_109302.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons