Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12534
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ สุธรรมาสาth_TH
dc.contributor.authorจรุณี หูชัยภูมิth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-15T03:43:27Z-
dc.date.available2024-07-15T03:43:27Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12534-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของบริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด และ (2) ข้อมูลสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่พบในการดำเนินระบบของบริษัทฯ ภายหลังได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสอบถามพนักงานบริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด จำนวน 162 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า พนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากสุด มีอายุไม่เกิน 30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุการทำงานอยู่ระหว่าง 1 - 3 ปี และมีตำแหน่งงานที่เป็นพนักงานปฏิบัติการมาก ที่สุด (1) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่สำคัญของการรักษาระบบการจัดการ สิ่งแว้ดล้อม ISO 14001 จากความคิดเห็นของพนักงานบริหาร พบว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความคิดเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากด้านแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมอยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านฝึกอบรม ด้านนโยบาย ด้านเอกสาร ด้านผู้ตรวจสอบ และด้านผู้ถูกตรวจสอบตามลำดับ และจาก ความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบภายใน พบว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความ คิดเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากด้วนผู้ถูกตรวจสอบ อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือด้านฝึกอบรม ด้านเอกสาร ด้านผู้ตรวจสอบ ด้านแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมตามลำดับ และจากความคิดเห็นของ พนักงานปฏิบัติการ พบว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความคิดเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากด้านฝึกอบรมอยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านผู้ตรวจสอบ ด้านแผนการจัดการ สิ่งแวดล้อม ด้านผู้ถูกตรวจสอบ ด้านเอกสาร และด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมตามลำดับ (2) ข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด 5 ลำดับแรกเรียงตามลำดับคือ เรื่อง การควบคุมกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมมีข้อบกพร่องเท่ากับ 16 ข้อคิดเป็นร้อยละ 39.02 เรื่องลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมมีจำนวนข้อบกพร่องเท่ากับ 10 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 24.39 เรื่องการเตรียมพร้อม รับสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีจำนวนข้อบกพร่องเท่ากับ 6 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 14.63 เรื่อง การสื่อสาร มีจำนวน ข้อบกพร่องท่ากับ 3 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 7.32 และเรื่อง การเฝ้าติดตามและวัดผล มีจำนวนข้อบกพร้องเท่ากับ 2 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 4.88th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectบริษัทซัมมิทโอโตบอดี้อินดัสตรีth_TH
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อม--มาตรฐานth_TH
dc.subjectไอเอสโอ 14001th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 ขององค์กรภายหลังการได้รับรองมาตรฐาน : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัดth_TH
dc.title.alternativestudy on problems and obstacles of ISO 14001 system implementation after certification : a case study of summit Auto Body Industry Co., Ltdth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_122371.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons