กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12534
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 ขององค์กรภายหลังการได้รับรองมาตรฐาน : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on problems and obstacles of ISO 14001 system implementation after certification : a case study of summit Auto Body Industry Co., Ltd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ สุธรรมาสา
จรุณี หูชัยภูมิ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทซัมมิทโอโตบอดี้อินดัสตรี
การจัดการสิ่งแวดล้อม--มาตรฐาน
ไอเอสโอ 14001
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของบริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด และ (2) ข้อมูลสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่พบในการดำเนินระบบของบริษัทฯ ภายหลังได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสอบถามพนักงานบริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด จำนวน 162 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า พนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากสุด มีอายุไม่เกิน 30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุการทำงานอยู่ระหว่าง 1 - 3 ปี และมีตำแหน่งงานที่เป็นพนักงานปฏิบัติการมากที่สุด (1) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่สำคัญของการรักษาระบบการจัดการสิ่งแว้ดล้อม ISO 14001 จากความคิดเห็นของพนักงานบริหาร พบว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความคิดเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากด้านแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมอยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านฝึกอบรม ด้านนโยบาย ด้านเอกสาร ด้านผู้ตรวจสอบ และด้านผู้ถูกตรวจสอบตามลำดับ และจากความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบภายใน พบว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความคิดเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากด้วนผู้ถูกตรวจสอบ อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือด้านฝึกอบรม ด้านเอกสาร ด้านผู้ตรวจสอบ ด้านแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมตามลำดับ และจากความคิดเห็นของพนักงานปฏิบัติการ พบว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความคิดเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากด้านฝึกอบรมอยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านผู้ตรวจสอบ ด้านแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านผู้ถูกตรวจสอบ ด้านเอกสาร และด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมตามลำดับ (2) ข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด 5 ลำดับแรกเรียงตามลำดับคือ เรื่อง การควบคุมกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมมีข้อบกพร่องเท่ากับ 16 ข้อคิดเป็นร้อยละ 39.02 เรื่องลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมมีจำนวนข้อบกพร่องเท่ากับ 10 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 24.39 เรื่องการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีจำนวนข้อบกพร่องเท่ากับ 6 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 14.63 เรื่อง การสื่อสาร มีจำนวนข้อบกพร่องท่ากับ 3 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 7.32 และเรื่อง การเฝ้าติดตามและวัดผล มีจำนวนข้อบกพร้องเท่ากับ 2 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 4.88
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_122371.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons