กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12535
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to dental health performance of health personnel in Health Centers, Kanchanaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
นฤมล เอี่ยมพงษ์ไพบูลย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย--กาญจนบุรี
ทันตสาธารณสุข--ไทย--ญจนบุรี
บุคลากรสาธารณสุข--การทำงาน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลแรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนจากองค์การของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข (2) การปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุข (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล แรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนจากองค์การ กับการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข และ (4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข ของบุคลากรสาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดกาญจนบุรีประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือบุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานจริงในสถานีอนามัยของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งหมดจำนวน 141 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับการตอบกลับ ร้อยละ 90.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานได้แก่การทดสอบไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.04 ปี สถานภาพสมรสดู่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ระยะเวลาปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขเฉลี่ย 8.14 ปี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวม ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลางการสนับสนุนจากองค์การทั้งภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านวิธีการจัดการหรือกระบวนการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง (2) การปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขในภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านงานบริการทันตสาธารณสุขแบบผสมผสาน ด้านงานทันตสาธารณสุข ตามกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน ด้านงานฝึกอบรมและพัฒนาวิชาการ และด้านงานบริหารจัดการและงานอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง (3) คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ และตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือขาดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขโดยตรง ภาระงานที่รับผิดชอบมาก บุคลากรในสถานีอนามัยมีน้อย ไม่มีความรู้เกี่ยวกับงานทันตสาธารณสุข การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ และข้อเสนอแนะ คือ ควรมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขโดยตรงหรือทันตาภิบาลทุกสถานีอนามัย มีการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆโดยเฉพาะยูนิตทันตกรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12535
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_123505.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons