กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12550
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factor related to the performance of quality criteria in sub-district Health Promotion Hospitals, Muang district, Kamphaeng Phet province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ผลประเสริฐ
เฉลิมพล วัฒนไกร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.
โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--กำแพงเพชร
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษา (1) ความรู้ในการดำเนินงานตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ (4) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดกำแพงเพชรการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ทำการเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 122 คน โดยเก็บข้อมูลจาก ทุกหน่วยประชากร ด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.65 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการทดสอบ ฟิชเชอร์ เอ๊กแซก ผลการวิจัย พบว่า (1) ประชากรที่ทำการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.21 (2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพในระดับดีร้อยละ 65.57 (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ระยะเวลาการเปิดดำเนินงาน เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม่มีความสัมพันธ์กับผลการ ดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนการได้รับการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่า มีความสัมพันธ์กับผลการ ดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงาน ได้แก่ จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอกับภาระงาน การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ไม่ตรงกับความต้องการและมีความล่าช้า รวมถึงการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125318.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons