Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorนวาริญ เพชรอุแทth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-15T07:28:36Z-
dc.date.available2024-07-15T07:28:36Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12555-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจังหวัดชุมพร(2) ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ ของคณะกรรมการฯ (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ และทัศนคติ กับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และ (5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของคณะกรรมการฯ ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพรกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงของเนื้อหาและการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในระดับสูง (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการฯส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40-49 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมมีรายได้ระหว่าง 10,000 - 30,000 บาท และ คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานเฉลี่ย 2.08 ปี (3) คณะกรรมการฯ มีความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในระดับปานกลาง และสูง ตามลำดับ (4) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ส่วนความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01, r = 0.275, r = 0.467) และ (5) ปัญหาอุปสรรค พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจและมีส่วนร่วมน้อยคณะกรรมการฯ ขาดความรู้ความเข้าใจต่อแนวคิดและวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และขาดทักษะในการจัดทำแผนงาน/โครงการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น--การบริหาร.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพร : ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeFactors related to the local health security fund implementation in Chumphon Province : opinions of the local health security fund committeesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125351.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons