กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12555
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพร : ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the local health security fund implementation in Chumphon Province : opinions of the local health security fund committees
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร
นวาริญ เพชรอุแท
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น--การบริหาร.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจังหวัดชุมพร(2) ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ ของคณะกรรมการฯ (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ และทัศนคติ กับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และ (5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของคณะกรรมการฯ ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพรกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงของเนื้อหาและการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในระดับสูง (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการฯส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40-49 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมมีรายได้ระหว่าง 10,000 - 30,000 บาท และ คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานเฉลี่ย 2.08 ปี (3) คณะกรรมการฯ มีความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในระดับปานกลาง และสูง ตามลำดับ (4) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ส่วนความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01, r = 0.275, r = 0.467) และ (5) ปัญหาอุปสรรค พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจและมีส่วนร่วมน้อยคณะกรรมการฯ ขาดความรู้ความเข้าใจต่อแนวคิดและวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และขาดทักษะในการจัดทำแผนงาน/โครงการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125351.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons