กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12556
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนภายใต้การบริหารคุณภาพตามระบบรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Job satisfaction of community hospital workers under quality management with hospital accreditation system, Mae Hong Son Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
อรรจน์ สุขเสริฐ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--แม่ฮ่องสอน
โรงพยาบาลชุมชน--ข้าราชการ--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคล ประสบการณ์การทำงานและ ขนาดของโรงพยาบาล (2) ความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนใน การปฏิบัติงานกับตัวแปรที่ศึกษาของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน การดำเนินการศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจในประชากรเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียงขึ้นไปจำนวน 470 คน ตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 217 คน ได้มาจากการสุ่มเลือกแบบ โควต้าโดยการกำหนดสัดส่วนของตัวอย่างตามขนาดเตียงของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้สอบถามความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และ 0.95 ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยผ่านทางผู้ประสานงานโรงพยาบาล และได้รับแบบสอบถามกลับทุกฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกตามระดับผู้บริหารและปฏิบัติการ ใช้สถิติพื้นฐานพรรณนาการกระจายของตัวอย่าง และใช้การทดสอบไค-สแควร์ หาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับตัวแปรที่ศึกษาผลการศึกษาพบว่า (1) เจ้าหน้าที่ระดับบริหารส่วนใหญ่อายุ 35 ปีขึ้นไป ปฏิบัติงานนาน 16 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลขนาดไม่เกิน 30 เตียง ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 35 ปี ปฏิบัติงานนานไม่เกิน 10 ปี เจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมดูงานพัฒนาคุณภาพ (2) เจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านในระดับปานกลาง ยกเว้นประเด็นการมีโอกาสใช้ความคิดริเริ่มลักษณะงานที่ปฏิบัติทำให้เกิดความภาคภูมิใจ/ท้าทายความสามารถในการพัฒนาความมีเกียรติและศักดิ์ศรีในงานที่รับผิดชอบ ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากในกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ และระดับบริหารมีค่าเฉลี่ความพึงพอใจต่อปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านในระดับปานกลาง ยกเว้นประเด็นจำนวนบุคลากรที่เพียงพอกับปริมาณงาน และระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับน้อยทั้งในกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ และ (3) ความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญตาม เพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และขนาดเตียง ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมีความพึงพอใจต่อปัจจัยค้ำจุนประเด็นสิ่งตอบ แทนความดีความชอบในการปฏิบัติงาน และระบบการสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจในการทำงาน ในสัดส่วนที่น้อยกว่าเจ้าหน้าที่ระดับบริหารอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_127458.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons