กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12558
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to health services among clients in subdistrict health promoting hospital, Salok Bat, Khanu Woralaksaburi District, Kamphaeng Phet Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
ธฤตวัน พระพิจิตร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--กำแพงเพชร
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้รับบริการ และ 3) ศึกษาพฤติกรรม การใช้บริการของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสลกบาตร จังหวัดกำแพงเพชร ในการวิจัยครั้งนี้ เก็บตัวอย่างเป็นจำนวน 400 ราย ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2554 แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทดสอบหาความเที่ยงของแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยนำด้านความรู้ ปัจจัยนำ ด้านเจตคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 , 0.77 , 0.75 และ 0.75 ตามลำดับ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล เพศหญิง ร้อยละ 55.3 อายุอยู่ในช่วง 31 - 40 ปี คิดเป็น ร้อยละ 26.7 สถานภาพสมรส แต่งงาน คิดเป็นร้อยละ 41.7 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ม.ศ.6 หรือ ปวช. คิดเป็นร้อยละ 38.7 ประกอบอาชีพหลัก รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/อาชีพมีเงินเดือนประจำ คิดเป็นร้อยละ 29.5 ไม่มีการประกอบอาชีพรอง คิดเป็นร้อยละ 41.0 มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป คน คิดเป็นร้อยละ 37.0 มีความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดูแลคนในครอบครัว 1 - 2 คน คิดเป็นร้อยละ 72.2 เฉลี่ย และสิทธิการรักษาพยาบาล แบบไม่เสียค่าธรรมเนียม คิดเป็นร้อยละ 83.5 สิทธิหลักประกันสุขภาพด้านการรักษาพยาบาลอื่นนอกจากบัตร ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้แก่ ประกันสังคม คิดเป็นร้อยละ 44.5 2) พบว่า ปัจจัยด้านเพศ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การมีหลักประกันสุขภาพอื่นๆนอกเหนือจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวนคนใน ครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย การเสียค่าธรรมเนียม ปัจจัยนำด้านความรู้ เจตคติด้านการจัดตั้งสถานบริการ เจตคติด้านคุณภาพบริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสลกบาตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมการใช้บริการของผู้รับบริการ ส่วนใหญ่ในระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา มีการเจ็บป่วยที่ต้องรักษาพยาบาล 5 ครั้งขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 52.2 ครั้งสุดท้ายที่ไปรักษาพยาบาลมีอาการ เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 57.5 และไม่ได้ไปรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสลกบาตรที่ระบุในบัตรเป็นลำดับแรก แต่ไปซื้อยากินเอง เป็น คิดเป็นร้อยละ 19.3 ข้อเสนอแนะในเชิงบริหารจัดการ ได้แก่ การยกระดับมาตรฐานการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การสร้างความเชื่อมั่น และจัดบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125352.pdfเอกสารฉบับเต็ม14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons