Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12560
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์th_TH
dc.contributor.authorจิราภรณ์ จินดาพลth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-15T08:02:24Z-
dc.date.available2024-07-15T08:02:24Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12560-
dc.description.abstractอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการจ้างงานและการลงทุนซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ต้องปฏิบัติเพื่อให้สถานประกอบการมีความปลอดภัยในการทำงาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) กำหนดปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่พบในโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ (2) กำหนดแผนงานและโครงการในการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในการดำเนินการศึกษาได้ทำการศึกษากรณีตัวอย่างของโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง โดยทำการศึกษาข้อมูลทั่วไปและกระบวนการผลิตต่าง ๆ ของโรงงาน การบริหารงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน การจัดสวัสดิการ ผลการตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม จากนั้นนำปัญหาทั้งหมดที่พบมาวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วทำการวางแผนงานและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามความเร่งด่วนของปัญหาจากการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ได้ผลการศึกษาคือ (1) พบปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยซึ่งจัดลำดับความสำคัญของปัญหาตามความเร่งด่วน ได้แก่ ปัญหาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปัญหาอุบัติเหตุจากการทำงาน เสียงดัง ท่าทางการทำงาน และการจัดสวัสดิการการทำงาน (2) ได้เสนอแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญของปัญหาจำนวน 5 แผนงานดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอโครงการความปลอดภัยจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการ UAM ร่วมใจ ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน และโครงการคุ้มครองหูให้ปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากเสียงดังข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ การดำเนินการตามแผนงานและโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะต้องอาศัยความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรทุกคนในการทำกิจกรรมจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์--ลูกจ้าง--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์--มาตรการความปลอดภัยth_TH
dc.titleแนวทางการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์th_TH
dc.title.alternativeGuidelines for the management of occupational health and safety in Autopart Automotive Factoryth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125690.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons