กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12560
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the management of occupational health and safety in Autopart Automotive Factory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
จิราภรณ์ จินดาพล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์--ลูกจ้าง--สุขภาพและอนามัย
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์--มาตรการความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการจ้างงานและการลงทุนซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ต้องปฏิบัติเพื่อให้สถานประกอบการมีความปลอดภัยในการทำงาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) กำหนดปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่พบในโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ (2) กำหนดแผนงานและโครงการในการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในการดำเนินการศึกษาได้ทำการศึกษากรณีตัวอย่างของโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง โดยทำการศึกษาข้อมูลทั่วไปและกระบวนการผลิตต่าง ๆ ของโรงงาน การบริหารงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน การจัดสวัสดิการ ผลการตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม จากนั้นนำปัญหาทั้งหมดที่พบมาวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วทำการวางแผนงานและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามความเร่งด่วนของปัญหาจากการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ได้ผลการศึกษาคือ (1) พบปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยซึ่งจัดลำดับความสำคัญของปัญหาตามความเร่งด่วน ได้แก่ ปัญหาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปัญหาอุบัติเหตุจากการทำงาน เสียงดัง ท่าทางการทำงาน และการจัดสวัสดิการการทำงาน (2) ได้เสนอแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญของปัญหาจำนวน 5 แผนงานดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอโครงการความปลอดภัยจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการ UAM ร่วมใจ ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน และโครงการคุ้มครองหูให้ปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากเสียงดังข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ การดำเนินการตามแผนงานและโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะต้องอาศัยความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรทุกคนในการทำกิจกรรมจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12560
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125690.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons