กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12571
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the level of quality improvement of community hospitals, Nakhon Sri Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
อรวรรณ เพชรน้อย, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--นครศรีธรรมราช
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 52 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ มีนโยบายผลักดันให้ทุกโรงพยาบาลผ่านการรับรองคุณภาพเพื่อเป็นหลักประกัน ความมั่นใจให้แก่ประชาชนผู้มาใช้บริการจากโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับนโยบายการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และมีการดำเนินงานคุณภาพบริการในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาล ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล การจัดการองค์การตามทฤษฎีระบบ และการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลตามหลักของเคมมิ่ง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล การจัดการองค์การ และการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ กับระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัคนครศรีธรรมราช 18 แห่ง จำนวน 600 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยง 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไครัสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเบียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่วนใหญ่ผ่านการประเมินขั้นที่ 2 ร้อยละ 50 รองลงมาผ่านเกณฑ์ขั้นที่ 1 ร้อยละ 38 และขั้นที่ 3 ร้อยละ 11.10 ตามลำดับ (2) ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาล พบว่าขนาดโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ระยะเวลาดำเนินการพัฒนาคุณภาพเฉลี่ย 8.06 ปี จำนวนบุคลากรเฉลี่ย 178.61 คน อายุเฉลี่ยของบุคลากร 35.47 ปี อายุราชการเฉลี่ย 11.21 ปี อัตราการครองเตียงมากกว่าร้อยละ 70 การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพมากว่าร้อยละ 2 คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาศรี ตำแหน่งพยาบาล เป็นผู้ปฏิบัติงาน มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี ปัจจัยด้านการจัดการองค์กรตามทฤษฎีระบบในภาพรวม และรายด้านอยู่ระดับมาก และปัจจัยการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลตามหลักของเคมมิ่งในภาพรวม และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นข้อที่ 6, 12 และ 13 อยู่ระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การจัดการองค์กรตามทฤษฎีระบบในภาพรวม และรายด้านทุกด้าน และการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพตามหลักของเคมมิ่งในภาพรวม และรายด้านเกือบทุกด้าน ยกเว้นข้อที่ 4 และข้อที่ 9 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือผู้บริหารและบุคลากรทุกคนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยนำแนวคิดการจัดการองค์กรตามทฤษฎีระบบและการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพตามหลักการของเคมมิ่งมาใช้ รวมทั้งควรมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลเป็นหน่วยงานพิเศษขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาล มีผู้รับผิดชอบ งานหลักอยู่ประจำศูนย์ฯ และสนับสนุนงบประมาณอย่างเหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12571
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_129502.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons