Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12586
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
Other Titles: Factors effective to risk behavior in safety at work : a case study of workers in automobile industrial factory
Authors: จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ
ฐานิศ หริกจันทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงงานอุตสาหกรรม--พนักงาน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม--การป้องกัน
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน (2) ศึกษาการรับรู้ความเสี่ยง ทัศนคติต่อความปลอดภัยในการทำงานและบุคลิกภาพ (3) เปรียบเทียบการรับรู้ความเสี่ยง ทัศนคติต่อความปลอดภัยในการทำงาน และบุคลิกภาพกับปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานประจำระดับปฏิบัติการเฉพาะเพศชายในโรงงานอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์จำนวน 229 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)ค่าความถี่ (Frequency) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) t-test F-test และ Pearson Product Moment Correlation Coefficientผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 33-46 ปีจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานประกอบธุรกิจประเภทบริการ และเคยอบรมหลักสูตรระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มอก.18001) ในปี 2550 (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน อยู่ในระดับไม่มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเลย ระดับการรับรู้ความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ระดับการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์หรืออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อยู่ในระดับไม่เห็นด้วย ระดับความคิดเห็นต่อระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อยู่ในระดับเห็นด้วย ระดับความคิดเห็นต่อบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างในส่วนขององค์ประกอบด้านการแสดงออกต่อสังคมองค์ประกอบด้านการเข้ากับผู้อื่นได้ และองค์ประกอบด้านความพิถีพิถัน อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ระดับความคิดเห็นต่อบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างในส่วนขององค์ประกอบด้านความหวั่นไหวทางอารมณ์ อยู่ในระดับไม่เห็นด้วย ระดับความคิดเห็นต่อบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างในส่วนขององค์ประกอบด้านการยอมรับสิ่งใหม่ อยู่ในระดับเห็นด้วย ระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการทำงาน อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อย (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่างกัน มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์หรืออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุไม่แตกต่างกัน แต่ในเรื่องประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน พบว่า แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระดับการศึกษา ประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่างกันมีทัศนคติต่อระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่างกันมีบุคลิกภาพด้านการแสดงออกต่อสังคม องค์ประกอบเข้ากับผู้อื่นได้ องค์ประกอบความพิถีพิถัน องค์ประกอบด้านการยอมรับสิ่งใหม่ไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษาต่างกันจะมีบุคลิกภาพ องค์ประกอบด้านความหวั่นไหวทางอารมณ์ ไม่แตกต่างกัน แต่ในเรื่องประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน พบว่า แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12586
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127289.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons