Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12591
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorสำราญ เชื้อเมืองพาน, 2513-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-18T02:41:51Z-
dc.date.available2024-07-18T02:41:51Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12591en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยภายนอกองค์กร และความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยภายในองค์กร และปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร และ (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดเชียงรายประชากร คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 18 อำเภอในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน คำนวณตัวอย่างด้วยโปรแกรมจีเพาเวอร์ ได้จำนวนตัวอย่าง จานวน 200 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยลักษณะ ส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในกลุ่มอายุ 40–49 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพสมรสคู่ ระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ย 20.2 ปี ตำแหน่งผู้บริหาร ไม่เคยผ่านการประชุม/อบรม/สัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปัจจัยภายในองค์กรประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ขององค์กร โครงสร้างองค์กร ระบบขององค์กร รูปแบบการทำงานของผู้นำบุคลากรในองค์กร ทักษะของบุคลากร และ ค่านิยมร่วมขององค์กร พบว่าปัจจัยภายในองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยภายนอกองค์กร ประกอบด้วย 4 ด้านได้แก่ ปัจจัยการเมือง ปัจจัยเศรษฐกิจ ปัจจัยสังคม และปัจจัยเทคโนโลยี พบว่า ปัจจัยภายนอกองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย 7 หมวด พบว่า ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 คือ ค่านิยมร่วมขององค์กร กลยุทธ์ขององค์กร ปัจจัยสังคม และรูปแบบการทำงานของผู้นำตามลำดับ มีอำนาจการทำนาย ร้อยละ 72.60 และ (3) ปัญหาอุปสรรค คือจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดยุทธศาสตร์มีน้อย และการติดตามประเมินผลของผู้บริหารไม่สม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะคือผู้บริหารควรเพิ่มบุคลากรตามกรอบอัตรากำลัง มีการวางแผนกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม และจัดทำแผนการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_us
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการพัฒนาองค์การth_TH
dc.subjectการบริหารองค์การth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดเชียงรายth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the achievements of organizational development according to Public Sector Management Quality Award criteria of district public health offices in Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were to (1) identify personal factors, internal and external factors, and success factors in organizational development, (2) investigate the influence of personal factors, internal and external factors on the success in organizational development, and (3) explore problems/obstacles of and make recommendations for organizational development, all according to the Public Sector Management Quality Award (PMQA) criteria, at district public health offices in Chiang Rai province. The study involved a sample of 200 PMQA committee members randomly selected from 400 of such members of all 18 district public health offices in Chiang Rai. The sample size was calculated using the G*Power program. The research instrument was a questionnaire asking about achievements for organizational development; the instrument’s reliability value was 0.97. Data were analyzed by using statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results showed that: (1) for personal factors, most of the respondents were married males aged 40-49 years, graduated with a bachelor’s degree, had 20.2 years of work experience on average, and worked as executives. Most of them had never attended a meeting/training program or seminar on PMQA development. Internal factors consisted of seven aspects, namely organizational strategies, organizational structure, organizational system, leader’s working style, organizational personnel, personnel skills, and shared values – overall at a high level; while external factors consisted of four aspects, namely political, economic, social and technological factors – overall at a high level. The success of PMQA organizational development consisted of seven aspects – overall at a high level; (2) the factors significantly affecting the success of PMQA organizational development were shared values, organizational strategies, social factors, and leader’s working style (p < 0.001) – all having a 72.60% predictive power; and (3) the major problems and obstacles were insufficient personnel, low-level participation of stakeholders in strategy formulation, and inconsistent follow-up and evaluation by executives. It is thus suggested that relevant executives should allocate more personnel as per the established staffing pattern, encourage participatory strategic planning, and design a regular follow-up and evaluation plan.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_163262.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons