Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12596
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorจักรภพ ธนาธนัยภัทร, 2512-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-18T03:11:45Z-
dc.date.available2024-07-18T03:11:45Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12596en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการณ์ก่อนการพัฒนา (2) กระบวนการพัฒนา (3) ผลการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบบริการแบบบูณาการกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร เจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิและอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 40 คน และ (2) ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 17 คน ระยะเวลาในการศึกษา 8 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพการณ์ก่อนการพัฒนา พบว่า ระบบบริการแบบเดิมมีบุคลากรและขั้นตอนการให้บริการชัดเจน และมีงบประมาณการให้บริการที่จำเป็น แต่การให้บริการยังไม่ทั่วถึงและแออัดเนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวนมาก ระยะเวลารอรับบริการนาน ทำให้ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในการให้บริการ และมีปัญหาอุปสรรคคือผู้ป่วยเบาหวานขาดการรับบริการอย่างต่อเนื่อง มีความเชื่อและการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องและที่พักอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลมากทำให้เดินทางมารับบริการไม่สะดวก (2) กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การเตรียมทรัพยากรนำเข้า การวางแผนการพัฒนาและการสร้างเครื่องมือ การดำเนินการพัฒนาและการติดตามผลการพัฒนาหลัง 8 เดือน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (3) ผลการพัฒนา พบว่าระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการมีการพัฒนาด้านโครงสร้างการบริหารจัดการคือการกำหนดแผนงานและบทบาทหน้าที่ของบุคลากร การมีส่วนร่วมของครอบครัว และภาคีเครือข่ายในชุมชน มีการพัฒนากระบวนการทำงานที่ชัดเจนและรวดเร็ว เน้นการเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีการติดตามเยี่ยมบ้านทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ไม่เสียเวลารอนาน ลดค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยเกิดความกระตือรือร้นที่จะรักษาและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ บุคลากรมีจำนวนน้อย เพิ่มภาระงาน และวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะต่อหน่วยบริการควรมีแนวทางการปฏิบัติด้านการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ชัดเจน จัดแพทย์หมุนเวียนไปให้บริการ และจัดสหวิชาชีพออกเยี่ยมบ้านth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectบริการการพยาบาลของโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectเบาหวาน--ผู้ป่วย--การดูแลth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการโรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนมth_TH
dc.title.alternativeDeveloping integrated service system toward diabetes patients in Tha-Uthane Hospital, Nakhonphanom Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this action research were to study: (1) the situation before development; (2) the development process; (3) the results of developing the integrated service system for patients with diabetes mellitus in Tha-Uthen Hospital, Nakhon Phanom province; and (4) problems, obstacles and recommendations in developing the integrated service system. The study was conducted among 40 health-care providers, i.e. doctors, professional nurses, pharmacists, public health personnel in primary care service, and health volunteers, and 17 diabetes patients, for a period of 8 months. Instruments for data collection were focus group and in-depth interview forms. The content analysis was done for qualitative data. The findings revealed the following: (1) before undertaking the development program, the old service system had the responsible health staff and the budget for diabetes care services, but the service coverage was inadequate with overcrowding of patients, long waiting time, patients’ dissatisfaction with service delivery, patients’ non-continuity of care, incorrect beliefs and self-practice, and inconvenience in coming for health care due to long home-to-hospital distances; (2) the process of development consisted of four stages, namely the preparation of resources, deign of development plan and instruments, implementation of development activities, and follow-up after 8 months of implementation with the cooperation of all concerned; (3) the results showed that the integrated service system included the development of the management structure to formulate the plan as well as roles and responsibilities of health staff, family participation, and community network; the clear and fast working process was developed focusing on easy access to services, convenience, short waiting time, low cost, and home visits, resulting in patients’ enthusiasm to seek medical care and control their blood sugar levels, and satisfaction with the health services provided; and (4) the major problems and obstacles identified were inadequate staff, increased workload, and insufficient supplies/equipment. It is thus suggested that health service units should have clear guidelines for the care of diabetes patients, assign doctors to provide medical care on a rotation basis, and organize a multi-professional health-care team for home visitsen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_128391.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons