กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12596
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการโรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing integrated service system toward diabetes patients in Tha-Uthane Hospital, Nakhonphanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
จักรภพ ธนาธนัยภัทร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
เบาหวาน--ผู้ป่วย--การดูแล
บริการทางการแพทย์
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการณ์ก่อนการพัฒนา (2) กระบวนการพัฒนา (3) ผลการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบบริการแบบบูณาการกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร เจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิและอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 40 คน และ (2) ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 17 คน ระยะเวลาในการศึกษา 8 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพการณ์ก่อนการพัฒนา พบว่า ระบบบริการแบบเดิมมีบุคลากรและขั้นตอนการให้บริการชัดเจน และมีงบประมาณการให้บริการที่จำเป็น แต่การให้บริการยังไม่ทั่วถึงและแออัดเนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวนมาก ระยะเวลารอรับบริการนาน ทำให้ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในการให้บริการ และมีปัญหาอุปสรรคคือผู้ป่วยเบาหวานขาดการรับบริการอย่างต่อเนื่อง มีความเชื่อและการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องและที่พัก อาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลมากทำให้เดินทางมารับบริการไม่สะดวก (2) กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การเตรียมทรัพยากรนำเข้า การวางแผนการพัฒนาและการสร้างเครื่องมือ การดำเนินการพัฒนาและการติดตามผลการพัฒนาหลัง 8 เดือน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (3) ผลการพัฒนา พบว่าระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการมีการพัฒนาด้านโครงสร้างการบริหารจัดการคือการกำหนดแผนงานและบทบาทหน้าที่ของบุคลากร การมีส่วนร่วมของครอบครัว และภาคีเครือข่ายในชุมชน มีการพัฒนากระบวนการทำงานที่ชัดเจนและรวดเร็ว เน้นการเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีการติดตามเยี่ยมบ้านทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ไม่เสียเวลารอนาน ลดค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยเกิดความกระตือรือร้นที่จะรักษาและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ บุคลากรมีจำนวนน้อย เพิ่มภาระงาน และวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะต่อหน่วยบริการควรมีแนวทางการปฏิบัติด้านการรักษาผู้ป่วย เบาหวานที่ชัดเจน จัดแพทย์หมุนเวียนไปให้บริการ และจัดสหวิชาชีพออกเยี่ยมบ้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12596
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128391.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons