Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12607
Title: ความรู้และความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Knowledge and opinions of health personnel on the operations of Tambon Health Promoting Hospitals in Phitsanulok Province
Authors: ธวัชชัย แตงอ่ำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--การบริหาร.--ไทย--พิษณุโลก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--พิษณุโลก
บุคลากรสาธารณสุข--ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่อง ความรู้และความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดพิษณุโลก 2) เปรียบเทียบความรู้ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของบุคลากรสาธารณสุขตามลักษณะคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 3)ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของบุคลากรสาธารณสุขในการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำในสถานีอนามัย หรือหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นเป้าหมายการยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในปี พ.ศ. 2553 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 31 แห่ง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อยู่ในระดับ ปานกลาง ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความรู้และความคิดเห็นจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน และตำแหน่ง พบว่า 1) เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน มีความรู้และความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 2) ตำแหน่ง พบว่า ความรู้และความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ทำงานเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพและอื่นๆ ส่วนตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ลำดับสุดท้าย (3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ คือ การขาดแคลนบุคลากร บุคลากรขาดขวัญกำลังใจ ความเหลื่อมล้ำทางวิชาชีพ ความ ล่าช้าของงบประมาณ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การเพิ่มการผลิตบุคลากร การอบรมพัฒนาศักยภาพ และการจัดสรร งบประมาณตรงไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12607
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_137329.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons