Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12613
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Factors influencing the executives' behavior of the bottom and middle level toward competency assessment program of transmission system area Division Electricity Generating Authority of Thailand |
Authors: | ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ กมล รัตนกุลวัฒนา, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย--พนักงาน--การประเมิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ--ภาระงาน--การประเมิน การประเมินผลงาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประเมินสมรรถณะของผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (3) เสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับต้น (พนักงานระดับ 7-8) และระดับกลาง (พนักงานระดับ 9-11) ที่เป็นผู้ประเมินสมรรถนะ สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจการประเมินสมรรถนะ ด้านทัศนคติการประเมินสมรรถนะ และด้านการรับรู้บรรทัดฐานการประเมินสมรรถนะ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอายุการทำงานที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เพศที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยการประเมินสมรรถนะด้าน ความรู้ความเข้าใจ ที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในขณะที่ด้านทัศนคติ และด้านการรับรู้บรรทัดฐานที่ด่างกัน มีพฤติกรรมการประเมินสมรรถนะ ที่ไม่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินสมรรถณะของผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง ด้านความรู้ความเข้าใจการประเมินสมรรถนะ ควรให้ความรู้เพิ่มเติม ด้านทัศนคติการประเมินสมรรถนะ ควรนำไปประกอบการพิจารณาจริงด้านการรับรู้บรรทัดฐานการประเมินสมรถนะ ควรมีบรรทัดฐานเดียวกันทั้งองค์กร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12613 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_129418.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License