Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12614
Title: | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพการท่าเรือแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Marketing mix factor affecting the behavior of harbour service stevedoring of operator in Bangkok Port, Port Authority of Thailand |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง กรรณิกา ใหม่กิจเหมา, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ประกอบการ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ การขนส่ง ท่าเรือกรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาคที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสิบค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย จำนวน 1,160 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างความสะดวก จำนวน 297 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามสถิติคือ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไตสเควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ พบว่า เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มาใช้บริการท่าเรือมากที่สุด เพราะความสะดวกสบายที่ได้รับในสถานบริการมากที่สุด การตัดสินใจลือกใช้บริการท่าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ มีส่วนร่วมใช้บริการในเวลาทำการปกติมากที่สุด สถานที่พักสินค้าส่วนใหญ่ใช้บริการที่ ร. ส. 1-5 มากที่สุด และส่วนใหญ่ลูกส่งตัวแทนมาใช้บริการทำมากที่สุด (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขบถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านราคา อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านพนักงาน อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลาง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้ำของผู้ประกอบการ ในเขตท่าเรือกรุงเทพ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสถานภาพการสมรส และรายได้ต่อเดือนของผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการ ในเขตท่าเรือกรุงเทพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตท่าเรือกรุงเทพ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับบริการที่ลูกค้ามาใช้ที่ท่าเรือกรุงเทพ และเหตุผลที่ลูกค้ามาใช้บริการที่ท่าเรือกรุงเทพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด้านการบริการมีความสัมพันธ์กับบริการที่ลูกค้ามาใช้ที่ท่าเรือกรุงเทพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12614 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_124120.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License