Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12624
Title: การศึกษาพฤติกรรมของผู้บรโภคกาแฟในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Study of behaviors of coffee consumer in Bangrakpattana Subdistrict administrative organization of Nontaburi Province
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
กรวิกา นิ่มประเสริฐ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กาแฟ--พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--นนทบุรี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล บางรักพัฒนา จังหวัดนนทบุรี และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา จังหวัดนนทบุรี ประชากรที่ศึกษาคือผู้บริโภคกาแฟที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 70 ปี ซึ่งพักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวนประมาณ 2,358 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 350 คน ด้วยสูตร ของทาโรยามาเน่ และ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉสี่ย และค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18 - 30 ปี สถานภาพโสด การศึกษระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ต่อเดือน10.001 - 20,000 บาท นิยมบริโภคกาแฟสตผสมนมแบบเย็นรสกลมกล่อม เพราะชื่นชอบในรสชาติและกลิ่นหอมของกาแฟ บริโภคกาแฟช่วงเวลาเช้าวันละ 1 แก้ว 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วพลาสติกหนาขุ่น ตัดสินใจซื้อกาแฟบริโภคด้วยตนเอง มีความรู้สึกเฉย ๆ เมื่อไม่ได้บริโภคกาแฟ นิยมใช้บริการร้านกาแฟ เพื่อนัดพบปะพูดคุยกัน ให้ความสำคัญกับกิริยามารยาทของพนักงานและชอบร้านกาแฟที่ให้พนักงานแต่งเครื่องแบบพนักงาน ส่วนใหญ่นิยมเข้าใช้บริการร้านกาแฟที่เป็นมุมกาแฟในอาคารที่อยู่ใกล้และสะดวก ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบการตกแต่งร้าน และเห็นว่าราคาที่เหมาะสมของกาแฟโบราณ คือ 16 - 20 บาทต่อแก้ว ส่วนกาแฟสด คือ 31 - 40 บาทต่อแก้ว (2) อายุ สถานภาพการสมรสระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนของผู้บริโภคกาแฟมีความสัมพันธ์กับตัวแปรพฤติกรรมการบริโภคกาแฟเกือบทุกตัวแปร ขณะที่เพศมีความสัมพันธ์กับตัวแปรเหตุผลสำคัญในการบริโภคกาแฟเพียงตัวแปรเดียว และตัวแปรผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อกาแฟไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลที่ศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12624
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_144874.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons