กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12625
ชื่อเรื่อง: การรับรู้มาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานบริษัท เซ้าท์ ซิตี้ ปิโตรเคม จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Employee's perception on occupational health and safety management system at South City Petrochem Co.,Ltd. Rayong Plant
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒไกร
เกรียงไกร ลุยะพันธุ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทเซ้าท์ ซิตี้ ปิโตรเคม--พนักงาน
อาชีวอนามัย--การจัดการ
มาตรฐานการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเข้าใจของพนักงานในข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (2) การรับรู้แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน (3) การรับรู้ประโยชน์ของพนักงานต่อระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (4) ความตระหนักถึงการให้ความร่วมมือกับระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือพนักงานจำนวน 63 คนที่ปฏิบัติงานในโรงงาน เช้าท์ ซีตี้ ปิโตรเคม จำกัด จังหวัดระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) พนักงานโดยรวมของโรงงาน เซ้าท์ ซีตี้ ปิโตรเคม มีความเข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับน้อย พนักงานมีความเข้าใจถึง ขั้นตอนหลักของระบบจัดการและประเด็นการประเมินความเสี่ยงในระดับมากที่สุด แต่ความเข้าใจในประเด็นการประเมินความสอดคล้องและที่มาของข้อกำหนดอยู่ในระดับน้อยมาก (2) การรับรู้แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการของพนักงานอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้มากที่สุดในประเด็นการขออนุญาตก่อนทำงานอันตราย การรายงานอุบัติเหตุ การเตือนอันตรายและการปฏิบัติตามแผนควบคุม (3) การรับรู้ประโยชน์ของระบบจัดการอาชีวอนามัยละความปลอดภัยของพนักงานอยู่ในระดับมากโดยมีการรับรู้ประโยชน์มากที่สุดในประเด็น การเตือนอันตรายข้างภาชนะ การทำงานที่เป็นทิศทางเดียวกัน การบันทึกการปฏิบัติงานการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล การซ้อมแผนฉุกเฉินและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ (4) ความตระหนักถึงการให้ความร่วมมือกับระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานอยู่ในระดับมาก โดยมีความตระหนักมากที่สุดในประเด็นการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งาน การมีส่วนร่วมและความไม่ประมาทในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงก่อนดำเนินการการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเข้าใจของพนักงานในข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (2) การรับรู้แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน (3) การรับรู้ประโยชน์ของพนักงานต่อระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (4) ความตระหนักถึงการให้ความร่วมมือกับระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือพนักงานจำนวน 63 คนที่ปฏิบัติงานในโรงงาน เช้าท์ ซีตี้ ปิโตรเคม จำกัด จังหวัดระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) พนักงานโดยรวมของโรงงาน เซ้าท์ ซีตี้ ปิโตรเคม มีความเข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับน้อย พนักงานมีความเข้าใจถึง ขั้นตอนหลักของระบบจัดการและประเด็นการประเมินความเสี่ยงในระดับมากที่สุด แต่ความเข้าใจในประเด็นการประเมินความสอดคล้องและที่มาของข้อกำหนดอยู่ในระดับน้อยมาก (2) การรับรู้แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการของพนักงานอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้มากที่สุดในประเด็นการขออนุญาตก่อนทำงานอันตราย การรายงานอุบัติเหตุ การเตือนอันตรายและการปฏิบัติตามแผนควบคุม (3) การรับรู้ประโยชน์ของระบบจัดการอาชีวอนามัยละความปลอดภัยของพนักงานอยู่ในระดับมากโดยมีการรับรู้ประโยชน์มากที่สุดในประเด็น การเตือนอันตรายข้างภาชนะ การทำงานที่เป็นทิศทางเดียวกัน การบันทึกการปฏิบัติงานการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล การซ้อมแผนฉุกเฉินและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ (4) ความตระหนักถึงการให้ความร่วมมือกับระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานอยู่ในระดับมาก โดยมีความตระหนักมากที่สุดในประเด็นการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งาน การมีส่วนร่วมและความไม่ประมาทในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงก่อนดำเนินการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12625
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_119199.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons