กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12641
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of performance and financial status of Mahidol University Saving and Credit Co-operative Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ
กัณณิกา อาจอาสา, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล--การเงิน
สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
สหกรณ์ออมทรัพย์--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล จำกัด โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (2) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล จำกัด โดยเทคนิค CAMELS การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งได้แก่ งบการเงิน ระหว่าง ปี 2551 ถึง ปี 2555 และรายงานการประชุมของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล จำกัด เครื่องมือที่ใช้ในวิเคราะห์ คือ อัตราส่วนทางการเงิน และเทกนิด CAMELS สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน วิเคราะห์ โดยอัตราส่วนทางการเงิน พบว่า 1) สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงินลดต่ำลง 2) การบริหารสินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 3) ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากหนี้สิน ซึ่งได้แก่ เงินฝาก 4) สหกรณ์มีความสามารถในการทำกำไรค่อนข้างคงที่ มีการลงทุนในสินทรัพย์มาก 5) ความสามารถในการ ให้บริการ แก่สมาชิกค่อนข้างดี สมาชิกออมเงินและกู้ยืมเงินได้เพิ่มขึ้น และ 6) ประสิทธิภาพในการทำกำไรต่อหุ้น พบว่า มีความสามารถในการทำกำไรค่อนข้างคงที่ (2) ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน วิเคราะห์ โดย เทคนิค CAMELS พบว่า1) ด้านความเพียงพอของเงินทุน สหกรณ์ใช้เงินทุนส่วนใหญ่มาจากหนี้สิน จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง 2) ด้านคุณภาพของสินทรัพย์ สหกรณ์มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น และการลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 3) ด้านการบริหารจัดการ สหกรณ์มีอัตราการเติบโตของธุรกิจที่ดี มีจำนวนสมาชิก สินทรัพย์และหนี้สินเพิ่มขึ้น 4) ด้านการทำกำไร สหกรณ์มีความสามารถในการทำกำไรดี อัตรากำไรสุทธิก่อนข้างสูง และสมาชิกได้รับผลตอบแทนค่อนข้างสูง 5) ด้านสภาพคล่องสหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงินลดลง และ (6) ด้านผลกระทบของธุรกิจ พบว่า เสถียรภาพทางการเมืองเทคโนโลยี คู่แข่งทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติ ล้วนมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายการบริหารงานของสหกรณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12641
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_138814.pdfเอกสารฉบับเต็ม11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons