Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12651
Title: การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Integrated marketing communication of Chiang Mai Tourism business association relating to tourist behavior in Chiang Mai Province
Authors: ราณี อิสิชัยกุล
กาญฎา บุญแท้, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การสื่อสารทางการตลาด
นักท่องเที่ยว
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่องการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของสมาคมธุรกิจเชียงใหม่ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ (2) การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ และ (3) ลักษณะส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากนักท่องเที่ยวชาวไทยซึ่งเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 100 ตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปจากการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.0 มีอายุระหว่าง 36- 45 ปีคิดเป็น ร้อยละ 31.0 จบการศึกษาปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 60.0 มีอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจคิดเป็นร้อยละ28.0 มีรายได้สูงกว่า 20,001 บาทขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 40.0 มีถิ่นอาศัยอยู่กรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 52.0 (1) ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว ร้อยละ 26.0 เดินทางมาท่องเที่ยว 3 ครั้ง วัตถุประสงค์หลักเพื่อพักผ่อนในวันหยุด (ร้อยละ 82.0) ร้อยละ 75.0 เดินทางด้วยตนเอง แหล่งท่องเที่ยวที่ไปคือประเภทวัดและพระตำหนักคิดเป็นร้อยละ 84.0 พักโรงแรมคิดเป็นร้อยละ 39.0 ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 5,001 - 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.0 (2) ด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณา การที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในภาพรวมมีความคิดเห็นระดับมากในทุกด้าน และ (3) ลักษณะส่วนบุคคล ด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และถิ่นที่อยู่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นการตลาดทางตรง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12651
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_130062.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons