Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12675
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorธีรศักดิ์ ชักนำth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-08-09T08:47:49Z-
dc.date.available2024-08-09T08:47:49Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12675-
dc.description.abstractโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนซึ่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป ภายในปี พ.ศ. 2563 จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานทั้งสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์การศึกษาแนวทางการจัดระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้า (2) วิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าที่มีอยู่ และ (3) เสนอแนวทางการจัดระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย สำหรับการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปการศึกษาทำโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยจากข้อมูลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในคน การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และระบบรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ตามตัวแปรบุคคล สถานที่ และเวลา สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน อัตราตาย ร้อยละและค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเสนอแนวทางการเฝ้าระวังโรคพิษ สุนัขบ้าในประเทศไทยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ในการศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และพิสัยอินเทอร์ ควอไทล์ ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนซึ่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป ภายในปี พ.ศ. 2563 จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานทั้งสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์การศึกษาแนวทางการจัดระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้า (2) วิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าที่มีอยู่ และ (3) เสนอแนวทางการจัดระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย สำหรับการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปการศึกษาทำโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย จากข้อมูลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในคน การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และระบบรายงาน ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ตามตัวแปรบุคคล สถานที่ และเวลา สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน อัตราตาย ร้อยละและ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเสนอแนวทางการเฝ้าระวังโรคพิษ สุนัขบ้าในประเทศไทยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ในการศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และพิสัยอินเทอร์ ควอไทล์ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ามีแนวโน้มลดลง แต่จำนวนและชนิดตัวอย่างหัวสัตว์ส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า ไม่เป็นตัวแทนของสัตว์รังโรคที่แท้จริง สุนัขเป็นสัตว์รังโรคที่สำคัญที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกสุนัขน้อยกว่า 3 เดือน และเป็นสัตว์มีเจ้าของ (2) ปัญหาของระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าที่พบคือ การตัดหัวสัตว์เพื่อการ เฝ้าระวังโรคมีความยุ่งยาก การลดจำนวนห้องปฏิบัติการตรวจหัวสัตว์ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการส่งตรวจได้ (3) แนวทางการจัดระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยต้องบูรณาการระบบการเฝ้าระวังทั้งสามระบบเข้าด้วยกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้าร่วมในกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งในคนและในสัตว์มากยิ่งขึ้น นโยบายการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าต้องควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายข้อแนะนำจากการวิจัยในอนาคตคือ ควรมีการประมาณการการฉีดวัคซีนควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และศึกษาถึงการครบถ้วนของการฉีดวัคซีนของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรคกลัวน้ำth_TH
dc.subjectการเฝ้าระวังโรคth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleแนวทางการจัดระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeA suggestive management for the rabies surveillance system in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeRabies is the zoonotic disease, which has been targeted to a complete eradication in Thailand by 2020. Rabies surveillance system is thus needed in both human health and animal health agencies. The objectives of this suggestive management for the rabies surveillance system in Thailand are: (1) to analyze the rabies epidemiology; (2) to analyze the current problems of rabies surveillance systems; and (3) to suggest the rabies surveillance system management in Thailand for its complete eradication. The study was conducted by analyzing rabies epidemiology from three data sources: the national human disease surveillance, the animal rabies laboratory surveillance, and the rabies contactor report system by three factors: persons, places, and times. Data analyses included mortal rates, percentage, and mean. Suggestive management of rabies surveillance system in Thailand was identified by the modified Delphi technique. Data analyses for the suggestive management of rabies surveillance system were median and interquartile range. The research findings were as follows: (1) the rabies epidemiology was down trending. However, numbers and types of the animal with rabies sample could not be claimed for a representativeness of the main reservoir. Dogs were the main cause of death, especially owned puppies, of age below 3 months; (2) The current problems of rabies surveillance system were difficulty in beheading animal carcasses, and decreasing numbers of laboratories for animal rabies; (3) The suggestive management for the rabies surveillance system in Thailand is to integrate all 3 rabies surveillance systems. Local administrative organization should have its role to cooperate in both human and animal rabies surveillance activities. Law enforcement, accompanying rabies surveillance system activities, is strongly recommended. Recommendations for further studies are that there should be an estimation of rabies vaccine coverage in animals, and the wholeness of vaccine scheduling for rabies contactors.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_146062.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons