Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12710
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมสำหรับการเกษียณอายุของบุคคลวัยทำงานในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Factors affecting savings for retirement of working age in Mueang Suphan Buri District, Suphan Buri Province
Authors: อภิญญา วนเศรษฐ
คีรีพล แก้วเพชร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: การออมกับการลงทุน
ผู้สูงอายุ--การเงินส่วนบุคคล
การเกษียณอายุ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาการออมสำหรับการเกษียณอายุ 2) เพื่อศึกษาการจัดสรรเงินออมไปเงินลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับการเกษียณอายุ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมสำหรับการเกษียณอายุของบุคคลวัยทำงานในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคคลวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20 -60 ปี ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยวิธีการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 50.70 และมีสถานะภาพโสด ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 60.80 กลุ่มตัวอย่างมีการออมเพื่อการเกษียณอายุร้อยละ 56.40 มีเงินออมเพื่อเกษียณอายุเฉลี่ย 500 - 1,000 บาทต่อเดือน โดยอาชีพที่มีรายได้ประจำมีการออมสูงกว่าอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะออมเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาข้อมูลการออมผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ร้อยละ 35.50 มีวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อความมั่นคงของชีวิต ร้อยละ 30.00 ส่วนใหญ่ไม่มีการกำหนดสัดส่วนการออมที่แน่นอน และสถานะทางการเงินมีผลต่อการออมมากที่สุด ระยะเวลาเก็บออมอยู่ที่ 1 - 5 ปี 2) รูปแบบการออมส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากกับสถาบันการเงิน ร้อยละ 26.00 รองลงมาได้แก่ กรมธรรม์ประกันชีวิต ร้อยละ 12.00 และสลากออมทรัพย์ร้อยละ 11.50 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่มีเงินออมในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการเกษียณอายุ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมสำหรับการเกษียณอายุของบุคคลวัยทำงานในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกที่อยู่ในการดูแล รายได้ ภาระหนี้สิน ภาระค่าใช้จ่าย มูลค่าสินทรัพย์ ประสบการณ์การลงทุน ระยะเวลาในการออม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12710
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168987.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons