กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1271
ชื่อเรื่อง: | การอนุรักษ์และพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญ บางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Conservation and development of cultural tourism in the Mon Community at Bangkradi in the Bang Khun Thian District, Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิตรา วีรบุรีนนท์ บุญชัย ปรีชาพิสิฐ, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุดจิต เจนนพกาญจน์ อนุชา ม่วงใหญ่ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ ชาวมอญ--ไทย--นนทบุรี--ความเป็นอยู่และประเพณี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของชุมชนของชาวมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร (2) บริบทและรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญบางกระดี่ (3) ปัญหาและอุปสรรคการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนมอญบางกระดี่ (4) แนวทางในการอนุรักษ์ และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนมอญบางกระดี่วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้รู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในชุมชน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 5 คนได้แก่ ประชากรที่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปรวมจำนวนทั้งสิ้น 17 คน โดยใช้วิธีการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตและการสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบวา (1) ชุมชนชาวมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนที่่ตั้งอยู่ริมน้ำที่มีลักษณะเก่าแก่ อายุมากกว่า 150 ปี เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี ในอดีตการสัญจรใช้ทางน้ำโดยใช้คลองสนามชัยเป็นเส้นทางหลักเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ชุมชนชาวมอญบางกระดี่ ยังคงมีรูปแบบและวัฒนธรรมที่เก่าแก่แบบจารีต โดยพิจารณาจากสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป วัตถุโบราณที่ได้รวบรวมไว้ รวมถึง ภาษาที่ใช้ ระบบเครือญาติ ซึ่งรูปแบบวัฒนธรรมมีการปฏิบัติเป็นแบบแผนเดียวกันกับวัฒนธรรมชาวมอญสมุทรสาคร จึงสรุปได้ว่าชุมชนมอญบางกระดี่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสาคร โดยมาตั้งเป็นชุมชนใหม่ ในราวปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัว (2) บริบทและรูปแบบการท่องเที่ยวของชุมชนชาวมอญบางกระดี่ ได้แก่ การจัดกิจกรรมโปรแกรมการท่องเที่ยวของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม และทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วยวัดบางกระดี่ เทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีเล่นสะบ้า การทรงเจ้าพอบางกระดี่ เทศกาลทำบุญกลางหมู่บ้าน ดนตรีวงทะแยมอญ การสานกก ทำจาก และทำแส้ เป็นต้น (3) ปัญหาและอุปสรรคในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาขยะในลำคลอง น้ำท่วม ปัญหาบุคลากร เช่น ขาดผู้นำชุมชนปัญหาความเป็นอยู่ของชุมชน และปัญหาสังคม เช่นปัญหายาเสพติดและการลักขโมย (4) ส่วนแนวทางการอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้รู้สึกหวงแหนวัฒนธรรมของตน และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ การเพิ่มศักยภาพให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน จัดพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยของประเพณี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1271 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (1).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License