Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12743
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Factors affecting sarcopenia among the elderly in Sattahip District, Chonburi Province
Authors: ภารดี เต็มเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วศินา จันทรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
พูนศรี ไชยทองเครือ, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์
กล้ามเนื้อ
ผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัย--ไทย--ชลบุรี
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากอาหารบริโภคของผู้สูงอายุ (2) ประเมินความชุกของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุ (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากอาหารบริโภคกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และ (4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุเพศชายและหญิงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 147 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การประเมินภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และการประเมินอาหารบริโภคด้วยวิธีการสัมภาษณ์อาหารบริโภคทบทวนความจำย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ร่วมกับการบันทึกอาหารบริโภคเป็นเวลา 2 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 60-69 ปีมีสถานภาพสมรสคู่ อาศัยอยู่กับคู่สมรสหรือบุตรหลาน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และไม่ได้ประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 มีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 4 ใน 5 มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับน้ำหนักเกินและอ้วน และมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ พลังงานที่ได้รับจากอาหารบริโภคเฉลี่ย 1,215 กิโลแคลอรีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณอ้างอิง และได้รับสารอาหารโปรตีนเฉลี่ย 43 กรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 82 ของปริมาณอ้างอิง (2) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.3 มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยเพศชายมีภาวะมวลกล้ามน้อยมากกว่าเพศหญิง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ดัชนีมวลกาย กิจกรรมทางกาย และพลังงานและสารอาหารโปรตีนที่ได้รับจากอาหารบริโภค (p<0.05) และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมี 4 ปัจจัย คือ ปริมาณโปรตีนเฉลี่ยที่ได้รับจากอาหารบริโภคและดัชนีมวลกายที่มีผลในทางผกผันกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ส่วนเพศชายและอายุที่มากขึ้นจะเพิ่มสัดส่วนภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยได้ร้อยละ 58.3 (R2=0.583)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12743
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons