Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12744
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพาณี สีตกะลินth_TH
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ สอนชาวเรือth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T06:53:44Z-
dc.date.available2024-09-13T06:53:44Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12744-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen) ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุและต้นทุนค่าลงทุน และ 2) เปรียบเทียบกับการเรียกเก็บตามสิทธิการรักษาในโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ โดยกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกผู้ป่วยที่มารับบริการ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาศึกษา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีจำนวน 62 ราย การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด ครั้งนี้ใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม (Activity–Based Costing: ABC) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 คือ พจนานุกรมกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด ชุดที่ 2 คือ เกณฑ์การจำแนกประเภทของผู้ป่วย และชุดที่ 3 คือ แบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการ จำนวน 11 ตาราง และนาฬิกาจับเวลา สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด คือ 1,555.77 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 165.03 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 1,343.40 บาท ต้นทุนค่าลงทุน 47.34 บาท อัตราส่วนต้นทุนค่าแรง: ต้นทุนค่าวัสดุ: ต้นทุนค่าลงทุน ร้อยละ 10.61 : 86.35 : 3.04 เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนตามกิจกรรมหลัก พบว่า (1) ต้นทุนกิจกรรมบริการนัดเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ จำนวน 2.14 บาท (2) ต้นทุนกิจกรรมบริการก่อนเข้ารับการตรวจ จำนวน 149.56 บาท (3) ต้นทุนกิจกรรมบริการขณะเข้ารับการตรวจ จำนวน 1,281.85 บาท และ (4) ต้นทุนกิจกรรมบริการหลังเข้ารับการตรวจ จำนวน 83.54 บาท และ 5) ผลเปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมตรวจกับการเรียกเก็บตามสิทธิการรักษาพบว่าสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าผลต่างจำนวน ขาดทุน 451.85 บาท สิทธิประกันสังคมผลต่าง ขาดทุนจำนวน 95.77 บาท เทียบเหมาจ่ายรายหัวต่อคนต่อปี และสิทธิชำระเงินเองกับสิทธิข้าราชเบิกจ่ายตรง ไม่มีผลต่างเรียกเก็บ เนื่องจากเรียกเก็บได้เต็มจำนวนจริงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมดโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหมth_TH
dc.title.alternativeUnit cost of computerized x-ray for whole abdomen in the hospitals under the Ministry of Defenceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this descriptive study was 1) to investigate unit cost of activities relating to a computerized X-ray for whole abdomen--labor cost, material cost, and administrative cost. 2) To compare billing costs for different preferential treatments in the hospitals under the Ministry of Defence. The study population was the patients, with no complication, receiving the computerized X-ray for whole abdomen from 1 October 2013 to 31 December 2013. A sample size of 62 patients was recruited by a purposive sampling technique. The study instruments were a checklist of activities to analyze a unit cost based on the Activity-based Costing (ABC), including a dictionary of activities related to computerized X-ray for whole abdomen, a classification reference of patient types, and a record form for unit cost of activities, and a stopwatch. Mean and percentage were used for data analysis. The results of this study showed that 1) the unit cost of activities relating to a computerized X-ray for whole abdomen was 1,555.77 baht—the labor cost of 165.03 baht, the material cost of 1,343.40 baht, and the administrative cost of 47.34baht. Ratio among the costs was 10.61 : 86.35 : 3.04. When analyzing for the unit cost of major activities, it was found that (1) the unit cost for a pre-service appointment was 2.14 baht. (2) The unit coast for a pre-service activity was 149.56 baht. (3) The unit cost for a in-service activity was 1, 281.85 baht. (4) The unit cost for post-service activity was 83.54 baht. (5) A comparison of the billing costs among different preferential treatments was that the hospitals were underpaid for 451.85 baht from the National Health Insurance and 95.77 baht from the Social Security Insurance, according to the flat rate payments from both agencies. However, regarding the health benefit plan for the government officials, the hospitals received the payment in fullen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_150163.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons