Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12745
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภาth_TH
dc.contributor.authorจเร ลีเลาหพงศ์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T07:00:17Z-
dc.date.available2024-09-13T07:00:17Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12745-
dc.description.abstractปัญหาความล่าช้าในการผ่าตัดไส้ติ่งจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงขณะรอคอยผ่าตัดส่วนหนึ่งมาจากความล่าช้าของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล ในกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนถ้าได้ใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ตามหลักการบริหารแบบลีนอาจลดระยะเวลารอคอยผ่าตัดไส้ติ่งลงได้ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ (1) ระยะเวลารอคอยผ่าตัด (2) ความถูกต้องในการวินิจฉัย และ (3) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบระหว่างการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนกับของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ประชากรคือ เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนนทบุรีและถูกส่งต่อมารักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าในช่วงระยะเวลาระหว่างตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 และมกราคม 2559 ถึงกันยายน 2559 จำนวน 271 ฉบับ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกเวชระเบียนที่มีข้อมูลตามเกณฑ์ครบจำนวน 185 ฉบับ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกรายการโดยมีความตรงของเนื้อหาทุกข้อมากกว่า 0.5 เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบแมนวิทนีย์ ยู และไคสแคว์ ตัวแปรควบคุม ได้แก่ เพศและอายุของผู้ป่วย ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนและของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้ามีความแตกต่างกันของระยะเวลารอคอยผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยที่ใช้ผลตรวจของโรงพยาบาลชุมชนใช้ระยะเวลารอคอยผ่าตัดน้อยกว่าผู้ป่วยที่ใช้ผลตรวจของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 200.12 นาที (โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 568.50 นาที และโรงพยาบาลชุมชน 368.38 นาที) (2) ความถูกต้องในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ระหว่างผู้ป่วยที่มีการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนกับของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการth_TH
dc.subjectโรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.titleเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนกับของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า : กรณีศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ได้รับการส่งต่อมายังโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าth_TH
dc.title.alternativeComparison of efficiencies in using clinical laboratory results of community hospitals and Pranangklao Hospital : a case study of appendectomy patients referred to Pranangklao Hospitalth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeDelays in appendectomy due to a long waiting period for laboratory reports are a cause of patient collapse while waiting for surgery. In case of patients referred from community hospitals, if the surgeon uses the laboratory results from community hospitals based on the lean management principles, surgical wait times may be reduced. The objectives of this descriptive research to compare: (1) to the waiting time for surgery; (2) to the accuracy of diagnosis; and (3) to the incidence of complications of appendicitis patients between using clinical laboratory results of community hospitals and Pranangklao hospital. The objectives of this retrospective descriptive research were to compare: (1) waiting times for surgery; (2) the accuracy of diagnoses; and (3) the incidence of complications in after appendectomy in patients using clinical lab results from community hospitals and Pranangklao Hospital. The study involved the review of 185 out of 271 medical records of patients who had been diagnosed with appendicitis at community hospitals in Nonthaburi province and referred to Pranangklao Hospital for after appendectomy from October 2013 to September 2014 and January to September 2016. The samples were selected from the medical records with information on inclusion criteria. Data were collected using a recording form whose content validity value was greater than 0.5, and then analyzed with descriptive statistics, Mann-Whitney U test and Chi-square test. Control parameters included gender and age of the patients. Results showed that: (1) using lab results from community hospitals and Pranangklao Hospital caused a significantly different surgical wait times; for the patients whose lab results from community hospitals were used, their surgical wait times were 200.12 minutes less than those using lab results of Pranangklao Hospital (368.38 VS. 568.50 minutes); (2) the diagnoses of appendicitis were not significantly different (p > 0.05); and (3) the incidence rates of complications after appendectomy were not significantly different in patients using lab results from community hospitals and Pranangklao Hospitalen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_153838.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons