Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12754
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Factors affecting nutritional status of hypertensive patients in Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province
Authors: สำอาง สืบสมาน
รามิล สมิทธ คีรี, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศริศักดิ์ สุนทรไชย
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์
ความดันเลือดสูง--ผู้ป่วย--โภชนาการ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรทางเศรษฐกิจและสังคม (2) ศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ทางสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย (3) ประเมินภาวะโภชนาการ และ (4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 155 ตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสำรวจภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.35) อายุเฉลี่ย คือ 55.30 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน คือ 6,767.74 บาท เป็นผู้รักษาโรคความดันโลหิตสูงที่มีการรับประทานยารักษาต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 6.03 ปี (2) ปัจจัยด้านการรับรู้ทางสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์การบริโภคอาหาร การรับรู้อุปสรรคในพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 3.16 2.19 3.47 และ 2.76 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารรสชาติกลมกล่อม (ร้อยละ 31.36) รับประทานอาหารว่างเป็นประจำ (ร้อยละ 22.58) ไม่ออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า 1 ปี (ร้อยละ 48.39) (3) ภาวะโภชนาการพบว่า ค่าเฉลี่ยค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 25.09 อยู่ในเกณฑ์ภาวะโภชนาการระดับอ้วนปานกลาง ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวกลุ่มตัวอย่างเพศชายเท่ากับ 88.05 เซนติเมตร จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และ ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงเท่ากับ 87.81 เซนติเมตร จัดอยู่ในเกณฑ์อ้วนลงพุง และ (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคในการบริโภคอาหารสัมพันธ์กับค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่าง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารสัมพันธ์กับขนาดเส้นรอบเอวของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย และปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงสัมพันธ์กับขนาดของเส้นรอบเอว สามารถทำนายภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ 2.3 3.1 และ 9.1 ตามลำดับ
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12754
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons