Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพาณี สีตกะลินth_TH
dc.contributor.authorวรพจน์ รัสกิจth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T08:40:22Z-
dc.date.available2024-09-13T08:40:22Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12761-
dc.description.abstractการศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนรายบุคคลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนรวม ต้นทุนรายหมวดค่ารักษาและอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขายระดับโรงพยาบาล 2) ต้นทุนรายบุคคล ต้นทุนรายหมวด ค่ารักษา ต้นทุนตามความรุนแรงของโรคและต้นทุนตามประเภทสิทธิประกันสุขภาพรายบุคคลของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2ในแผนกผู้ป่วยนอก และ3) เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการเรียกเก็บและตามจ่ายชดเชยบริการทางการแพทย์ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประเภทสิทธิประกันสุขภาพ และประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว รูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนบริการทางการแพทย์แบบดั้งเดิม จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ โดยวิเคราะห์ต้นทุนรายผู้ป่วยด้วยวิธีจุลภาคโดยอาศัยสัดส่วนต้นทุนต่อราคาขายเป็นตัวกำหนดต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคล เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557 จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลทางคลินิก และข้อมูลการมารับบริการของผู้ป่วยได้จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูล ค่าใช้จ่าย ข้อมูลผลงานการบริการ ข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานจากหน่วยงานต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ในการวิเคราะห์ต้นทุนสำเร็จรูปของสำนักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นำเสนอ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ในการบรรยายลักษณะ ของต้นทุนในการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงพยาบาลมีต้นทุนรวม 139,528,018.03 บาท เป็นต้นทุนค่าแรง 51.74% ค่าวัสดุ 43.03% และค่าเสื่อม 5.23% ต้นทุนรายหมวดค่ารักษามากที่สุดได้แก่ ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์และ พยาบาล 45.21% โดยมีอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย เท่ากับ 1.30 2) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีต้นทุนเฉลี่ย 1,256.14 บาท:ครั้ง มีต้นทุนรายหมวดค่ารักษาเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ต้นทุนค่ายา 722.73 บาท:ครั้ง ต้นทุนของเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง1,410.27บาท:ครั้ง สิทธิในการรักษา พยาบาลที่มีต้นทุนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่สิทธิข้าราชการ 2,106.42 บาท:ครั้ง และ 3) เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการเรียกเก็บ และตามจ่ายค่าชดเชยทางการแพทย์ พบว่าผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพและ สิทธิ์ประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว มีต้นทุนสูงกว่ารายได้จากการเรียกเก็บค่าชดเชยทางการแพทย์ อยู่ 675.03 บาทและ 615.09 บาท ตามลำดับ ผลสำเร็จ ของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรและการจัดการต้นทุนในการดูแล ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาล และเป็นข้อเสนอในการเรียกเก็บค่าชดเชยในการบริการทางการแพทย์ระหว่าง หน่วยงานได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเบาหวาน--ผู้ป่วย--การดูแล--ต้นทุนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.titleต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง ของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeThe unit cost for a treatment of patients with diabetes t in the out-patient department at a 60-bed Community Hospital in Suratthani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive research were to: 1) examine full cost, cost of each billing group, and the ratio of cost-to-charge in the Out-patient Department of a 60-bed community hospital in Suratthani province; 2) examine the costs of each individual patient, of each billing group, of complications, and of health insurance types among patients with type-2 diabetes in the Out-patient Department; and 3) compare a unit cost for collection and payment of medical services for patients with type-2 diabetes of two different health assurance types: Thai nationals and migrant workers. Conventional cost of medical treatment analysis and individual patient-level cost analysis with micro-costing method based in cost-to-charge ratio were conducted to determine individual patient-level cost. Data collection was made from October 1, 2013 to September 30, 2014. Primary data sources included clinical data and patient data from hospital information system database. Secondary data sources included hospital costs, hospital service performance, and departmental performance. Data were analyzed by a software package for cost analysis of Health Insurance Group, Ministry of Public Health. Data were presented through descriptive statistics of the unit cost for patients with type-2 diabetes. The results showed that: 1) the hospital had a full cost of 139,528,018.03 baht, of which 51.74% was labor, 43.03% materials, and 5.23% depreciation. The highest cost of the billing groups was doctor fee the ratio of 1.30 cost-to-charges; 2) The average cost for the patients with type-2 diabetes was 1,256.14 baht per visit. The highest cost of the billing groups was medication (722.73 baht per visit). The patients with type-2 diabetes with multiple complications cost highest (1,410.27 baht per visit). Regarding health assurance types, it was found that the patients with civil medical benefit cost highest (2,106.42 baht per visit); and 3) When compared a unit cost for the collection and payment of medical services, it was found that the unit costs for patients of Thai nationals and migrant workers health assurances were higher than the revenues at 675.03 and 615.29 baht per visit. The findings of this study suggest the guidelines for decision making of resource and cost management in the care for the patients with type-2 diabetes in the hospitals, and a guideline for the charge of service compensation among medical service agenciesen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_150592.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons