กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12761
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง ของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Unit cost for a treatment of patients with diabetes t in the out-patient department at a 60-bed Community Hospital in Suratthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน
วรพจน์ รัสกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี
เบาหวาน--ผู้ป่วย--การดูแล--ต้นทุน
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนรายบุคคลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนรวมต้นทุนรายหมวดค่ารักษาและอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขายระดับโรงพยาบาล 2) ต้นทุนรายบุคคล ต้นทุนรายหมวดค่ารักษา ต้นทุนตามความรุนแรงของโรคและต้นทุนตามประเภทสิทธิประกันสุขภาพรายบุคคลของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2ในแผนกผู้ป่วยนอก และ3) เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการเรียกเก็บและตามจ่ายชดเชยบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประเภทสิทธิประกันสุขภาพ และประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว รูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนบริการทางการแพทย์แบบดั้งเดิม จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ โดยวิเคราะห์ต้นทุนรายผู้ป่วยด้วยวิธีจุลภาคโดยอาศัยสัดส่วนต้นทุนต่อราคาขายเป็นตัวกำหนดต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคล เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557 จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลการมารับบริการของผู้ป่วยได้จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลค่าใช้จ่าย ข้อมูลผลงานการบริการ ข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานจากหน่วยงานต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ต้นทุนสำเร็จรูปของสำนักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา ในการบรรยายลักษณะ ของต้นทุนในการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงพยาบาลมีต้นทุนรวม 139,528,018.03 บาท เป็นต้นทุนค่าแรง 51.74% ค่าวัสดุ 43.03% และค่าเสื่อม 5.23% ต้นทุนรายหมวดค่ารักษามากที่สุดได้แก่ ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์และพยาบาล 45.21% โดยมีอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย เท่ากับ 1.30 2) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีต้นทุนเฉลี่ย 1,256.14 บาท:ครั้ง มีต้นทุนรายหมวดค่ารักษาเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ต้นทุนค่ายา 722.73 บาท:ครั้ง ต้นทุนของเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง1,410.27บาท:ครั้ง สิทธิในการรักษาพยาบาลที่มีต้นทุนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่สิทธิข้าราชการ 2,106.42 บาท:ครั้ง และ 3) เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการเรียกเก็บและตามจ่ายค่าชดเชยทางการแพทย์ พบว่าผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพและ สิทธิ์ประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว มีต้นทุนสูงกว่ารายได้จากการเรียกเก็บค่าชดเชยทางการแพทย์ อยู่ 675.03 บาทและ 615.09 บาท ตามลำดับ ผลสำเร็จของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรและการจัดการต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาล และเป็นข้อเสนอในการเรียกเก็บค่าชดเชยในการบริการทางการแพทย์ระหว่างหน่วยงานได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12761
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150592.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons