Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12769
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภาth_TH
dc.contributor.authorสุพาณี น้อยเอียดth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-16T03:58:59Z-
dc.date.available2024-09-16T03:58:59Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12769en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติของผู้รับบริการต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (2) เปรียบเทียบทัศนคติต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรของผู้รับบริการแผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของแพทย์ต่อการสั่งใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ประชากร คือผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปากน้ำชุมพรที่มีข้อบ่งชี้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรจำนวน 100 คนต่อเดือน สุ่มตัวอย่างตามช่วงเวลาในเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 170 คน และแพทย์ประจำโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จำนวน 4 คน ศึกษาทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในคือ แบบสอบถามทัศนคติผู้รับบริการมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์แพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และครัสคัล วอลลิส ผลการวิจัย พบว่าผู้รับบริการ (1) มีทัศนคติโดยภาพรวมต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในระดับสูง ส่วนทัศนคติรายด้านพบว่าด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้สึก และด้านแนวโน้ม ที่จะปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (2) ผู้รับบริการที่มีประสบการณ์การรับประทานยาสมุนไพร และมีวิธีการรักษาก่อนมาพบแพทย์ที่แตกต่างกันมีทัศนคติโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้รับบริการมีที่มีประสบการณ์การรับประทานยาสมุนไพร และระดับรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติด้านความรู้แตกต่างกัน ผู้รับบริการที่มีเพศและประสบการณ์การรับประทานสมุนไพรแตกต่างกันมีทัศนคติด้านความรู้สึกแตกต่างกัน และผู้รับบริการที่มีประสบการณ์การใช้ยาสมุนไพรและวิธีการรักษาก่อนมาพบแพทย์ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติด้านแนวโน้มที่จะปฏิบัติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) จากการศึกษาความคิดเห็นของแพทย์ พบว่าแพทย์มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ความปลอดภัย คุณภาพมาตรฐานในการผลิตของยาสมุนไพร และพอใจในรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร แต่ในด้านความคุ้มค่าและราคานั้นมีความเห็นว่ายังมีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน และแพทย์สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องยาสมุนไพรในกลุ่มผู้รับบริการ และการอบรมบุคลากรในหน่วยงานของโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร. แผนกผู้ป่วยนอกth_TH
dc.subjectฟ้าทะลายโจร--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectพืชสมุนไพร--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.titleทัศนคติของผู้รับบริการและความคิดเห็นของแพทย์ต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปากน้ำชุมพรth_TH
dc.title.alternativeClients’ attitudes and physicians' opinions towards the use of Fa-Thalai-Chon herbal drug in the Outpatient Department at Paknamchumphon Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to: (1) identify client attitudes; (2) assess client attitudes by client personal factor; and (3) identify physicians' opinions, all towards or related to the use of Fa-Thalai-Chon (Andrographis paniculata herbal capsules) in the outpatient department at Paknamchumphon Hospital, Chumphon province. The study was conducted in a sample of 170 outpatients having criterian of treating with Fa-Thalai-Chon, who had been randomly selected from about 200 outpatients with such treatment, in January and February 2018 and 4 doctors at the hospital. The instruments used were a questionnaire with the reliability value of 0.89 and a medical interview guideline. Statistics used were descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA and Kruskal-Wallis test. The results showed that: (1) of all participants, their overall attitudes towards the use of Fa-Thalai-Chon were at a high level. For each aspect of attitudes, the knowledge was at a moderate level, and the feelings and tendency to perform were at a high level; (2) all clients with different experiences in herbal medication and treatment methods before seeing the doctor had different overall attitudes. By each attitude aspect, those with different herbal use experiences and monthly incomes had different knowledge; those with different gender and herbal use experiences had different feelings; and those with different herbal use experiences and treatment methods had different practice tendencies – at the significance level of 0.05; and (3) the doctors were confident in the herbal drug’s efficacy, safety, and quality standards. They were satisfied with the look of the product, but considered that, regarding worthiness and price, the drug was rather expensive, compared with modern medicines. However, they could follow the herbal use promotion policy. It is recommended that public relations efforts on herbal drug use promotion should be enhanced for healthcare clients and a training program should be organized for hospital staff so that they will have a better knowledge and positive attitudes towards the use of Fa-Thalai-Chonen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_157118.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons