กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12769
ชื่อเรื่อง: | ทัศนคติของผู้รับบริการและความคิดเห็นของแพทย์ต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Clients’ attitudes and physicians' opinions towards the use of Fa-Thalai-Chon herbal drug in the Outpatient Department at Paknamchumphon Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา สุพาณี น้อยเอียด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร. แผนกผู้ป่วยนอก ฟ้าทะลายโจร--การใช้รักษา พืชสมุนไพร--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติของผู้รับบริการต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (2) เปรียบเทียบทัศนคติต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรของผู้รับบริการแผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของแพทย์ต่อการสั่งใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ประชากร คือผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปากน้ำชุมพรที่มีข้อบ่งชี้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรจำนวน 100 คนต่อเดือน สุ่มตัวอย่างตามช่วงเวลาในเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 170 คน และแพทย์ประจำโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จำนวน 4 คน ศึกษาทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในคือ แบบสอบถามทัศนคติผู้รับบริการมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์แพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และครัสคัล วอลลิส ผลการวิจัย พบว่าผู้รับบริการ (1) มีทัศนคติโดยภาพรวมต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในระดับสูง ส่วนทัศนคติรายด้านพบว่าด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้สึก และด้านแนวโน้ม ที่จะปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (2) ผู้รับบริการที่มีประสบการณ์การรับประทานยาสมุนไพร และมีวิธีการรักษาก่อนมาพบแพทย์ที่แตกต่างกันมีทัศนคติโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้รับบริการมีที่มีประสบการณ์การรับประทานยาสมุนไพร และระดับรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติด้านความรู้แตกต่างกัน ผู้รับบริการที่มีเพศและประสบการณ์การรับประทานสมุนไพรแตกต่างกันมีทัศนคติด้านความรู้สึกแตกต่างกัน และผู้รับบริการที่มีประสบการณ์การใช้ยาสมุนไพรและวิธีการรักษาก่อนมาพบแพทย์ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติด้านแนวโน้มที่จะปฏิบัติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) จากการศึกษาความคิดเห็นของแพทย์ พบว่าแพทย์มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ความปลอดภัย คุณภาพมาตรฐานในการผลิตของยาสมุนไพร และพอใจในรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร แต่ในด้านความคุ้มค่าและราคานั้นมีความเห็นว่ายังมีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน และแพทย์สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องยาสมุนไพรในกลุ่มผู้รับบริการ และการอบรมบุคลากรในหน่วยงานของโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12769 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_157118.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License