Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12770
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภาth_TH
dc.contributor.authorอำภา พ่วงสร้อยth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-16T04:07:44Z-
dc.date.available2024-09-16T04:07:44Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12770en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระยะเวลาของกระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด และ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ระหว่างกลุ่มที่ใช้แผนการดูแลทางคลินิกกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แผนการดูแลทางคลินิก ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลเลิดสิน เฉลี่ยเดือนละ 30 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตามช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 31 มกราคม พ.ศ. 2561 โดยกลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยซึ่งไม่ได้ใช้แผนการดูแลทางคลินิกจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองคือ ผู้ป่วยใช้แผนการดูแลทางคลินิก จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน แผนการดูแลทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแผนการเยี่ยมก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และแผ่นพับความรู้การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกระยะเวลาผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า (1) เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของกระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มควบคุมใช้ระยะเวลารวมเฉลี่ย 185.23 นาที มากกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 162.8 นาที โดยกลุ่มทดลองใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมเฉลี่ย 22.43 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละช่วงของกระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด พบว่าระยะรับผู้ป่วย ระยะรอผ่าตัด และ ระยะผ่าตัด กลุ่มทดลองใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเฉพาะระยะออกจากห้องผ่าตัดที่ไม่พบความแตกกต่างกันของสองกลุ่ม และ (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจรวมของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลเลิดสิน. ห้องผ่าตัดth_TH
dc.subjectการดูแลหลังศัลยกรรมth_TH
dc.subjectข้อเข่า--ศัลยกรรมth_TH
dc.subjectข้อเข่าเทียมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.titleผลของการใช้แผนการดูแลทางคลินิกของห้องผ่าตัด: กรณีศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลเลิดสินth_TH
dc.title.alternativeEffect of clinical pathway implementation of operating room: a case study of total knee replacement patients at Lerdsin Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to: (1) compare the durations of Total Knee Replacement (TKR) surgical care processes; and (2) the satisfaction levels of TKR patients using the clinical pathway with those not using the clinical pathway. The study population consisted of patients undergoing TKR surgery at Lerdsin Hospital in Bangkok from December 1, 2017 to January 31, 2018. As a study sample, 60 TKR patients were enrolled using the time-space sampling – 30 assigned to the experimental group using the clinical pathway and the other 30 to the control group. The clinical pathway plans or activities that had been developed consisted of a preoperative preparation plan, a preoperative bedside visit, and a brochure on postoperative self-care for TKR patients. Data were collected by using a surgical record chart for each TKR patient and a client satisfaction questionnaire that had the reliability value of 0.94 and then analyzed using descriptive statistics and t-test. The results showed that: (1) the total duration of care for the control group was longer than that for the experimental group (185.23 minutes and 162.8 minutes, respectively). The average care duration for the experimental group was significantly shorter than for the control group by 22.43 minutes. Concerning the steps of surgical patient care, the average time of acceptance at the operating room, preoperative and operative periods of the experimental group were significantly shorter than those for the control group; but the recovery time periods were similar in both groups; and (2) the overall client satisfaction of the experimental group was significantly higher than the control groupen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_157128.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons