กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12782
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของประชาชนต่อความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขกับความพึงพอใจในการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between people's perception on ability of health volumteers and their satisfaction on hypertension prevention and control services in Bangplama District, Suphanburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ เอนก อ่ำสกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ความดันเลือดสูง--ผู้ป่วย--ไทย--สุพรรณบุรี ความดันเลือดสูง--การป้องกันและควบคุม อาสาสมัครสาธารณสุข--ความพอใจของผู้ใช้บริการ การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ของประชาชนต่อความสามารถในการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง (2) ประเมินระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล และการรับรู้ต่อความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กับความพึงพอใจของประชาชน ในการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดัน โลหิตสูงในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งแบบสัมภาษณ์ด้านการรับรู้ และความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น 094 และ 0.97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความสามารถในการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของอสม.ในภาพรวมและด้านความรู้ในระดับมาก ส่วนด้านทักษะอยู่ในระดับปานกลาง (2) มีความพึงพอใจต่อการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของอสม.ในระดับมาก (3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพหลัก มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของ อสม. (p-vale<0.05) การรับรู้ความสามารถในภาพรวม ความรู้และทักษะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (-0.6380, 0.5400, 0.6220, p-value<0.001) ข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมพัฒนาความสามารถของ อสม.ในด้านทักษะการวางแผนแก้ไขปัญหา การดูแลตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือให้มีความปลอดภัย พร้อมให้บริการอยู่เสมอ รวมทั้งความรวดเร็วและถูกต้องในการให้บริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12782 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_112581.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License