Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12807
Title: การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองสำหรับบรรจุเดี่ยว
Other Titles: Individual packaging development of Hom Thong banana
Authors: จีรานุช บุดดีจีน
มณีนุช วิภาวีพลกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
กล้วย--การบรรจุหีบห่อ
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองบรรจุเดี่ยว และ 2) เลือกรูปแบบการวางจำหน่ายปลีกที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองประกอบด้วย 1) การศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมที่ ยืดอายุการเก็บรักษาโดยการทดลอง A เปรียบเทียบ ชนิดของถุงพลาสติกระหว่างชนิดพอลีเอทิลีนความ หนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) และชนิดพอลิพลอพิลีน (PP), ขนาดของถุงพลาสติก ขนาดเล็ก (5.5x12 นิ้ว) กับขนาดใหญ่ (8x12 นิ้ว), ขนาดรูถุงพลาสติกรูเล็ก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตรต่อรู) และรู ใหญ่ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เซนติเมตรต่อรู), ตำแหน่งรูที่ถุงพลาสติก ได้แก่ ตำแหน่งซ้ายและขวา ตำแหน่งกลาง และตำแหน่งซ้าย ขวาและกลางถุง และสัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดของรูต่อพื้นที่ถุง สภาวะการ ทดลองควบคุมที่อุณหภูมิ 27 3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 # 10% โดยวัดสีการสุกของกล้วย หอมทองจากเขียวไปเหลืองด้วยสายตาและเครื่อง Spectroradiometer 2) การศึกษาวิธีการจำหน่ายโดยการ ทดลอง B1 โดยการแขวนกล้วยในแนวดิ่งและพันก้านกล้วยหอมทองด้วยฟิล์มยืดห่ออาหาร ที่สภาวะเร่ง อุณหภูมิ 29.3 1.1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 99% และการทดลอง B2 โดยการแขวนแนวดิ่งและ วางราบกับพื้นที่สภาวะเดียวกันกับการทดลอง A ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองที่ใช้ถุงพลาสติกชนิด LLDPE และ ชนิด PP ให้การสุกของกล้วยไม่แตกต่างกัน ถุงพลาสติกขนาดเล็กให้การสุกช้ากว่าถุงขนาดใหญ่ ตำแหน่ง รูซ้ายและขวา แลพตำแหน่งซ้าย ขวาและกลางถุงให้การสุกช้ากว่าตำแหน่งกลางถุงที่พื้นที่ช่องเปิดของรู เท่ากัน และสัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดของรูต่อพื้นที่ถุง 0.32%, 0.91% และ 1.36% ให้การสุกของกล้วยไม่ แตกต่างกัน 2) รูปแบบการแขวนกล้วยหอมทองแนวดิ่งและไม่พันก้านกล้วยด้วยฟิล์มยืดทำให้ยืดอายุการ เก็บของกล้วยได้ดีกว่า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12807
Appears in Collections:Science Tech - Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159428.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons