Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12807
Title: | การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองสำหรับบรรจุเดี่ยว |
Other Titles: | Individual packaging development of Hom Thong banana |
Authors: | จีรานุช บุดดีจีน มณีนุช วิภาวีพลกุล, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กล้วย--การบรรจุหีบห่อ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองบรรจุเดี่ยว และ 2) เลือกรูปแบบการวางจำหน่ายปลีกที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองประกอบด้วย 1) การศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมที่ยืดอายุการเก็บรักษาโดยการทดลอง A เปรียบเทียบ ชนิดของถุงพลาสติกระหว่างชนิดพอลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) และชนิดพอลิพลอพิลีน (PP), ขนาดของถุงพลาสติก ขนาดเล็ก (5.5x12 นิ้ว) กับขนาดใหญ่ (8x12 นิ้ว), ขนาดรูถุงพลาสติกรูเล็ก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตรต่อรู) และรูใหญ่ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เซนติเมตรต่อรู), ตำแหน่งรูที่ถุงพลาสติก ได้แก่ ตำแหน่งซ้ายและขวาตำแหน่งกลาง และตำแหน่งซ้าย ขวาและกลางถุง และสัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดของรูต่อพื้นที่ถุง สภาวะการทดลองควบคุมที่อุณหภูมิ 27 3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 # 10% โดยวัดสีการสุกของกล้วยหอมทองจากเขียวไปเหลืองด้วยสายตาและเครื่อง Spectroradiometer 2) การศึกษาวิธีการจำหน่ายโดยการทดลอง B1 โดยการแขวนกล้วยในแนวดิ่งและพันก้านกล้วยหอมทองด้วยฟิล์มยืดห่ออาหาร ที่สภาวะเร่งอุณหภูมิ 29.3 1.1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 99% และการทดลอง B2 โดยการแขวนแนวดิ่งและวางราบกับพื้นที่สภาวะเดียวกันกับการทดลอง A ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองที่ใช้ถุงพลาสติกชนิด LLDPE และชนิด PP ให้การสุกของกล้วยไม่แตกต่างกัน ถุงพลาสติกขนาดเล็กให้การสุกช้ากว่าถุงขนาดใหญ่ ตำแหน่งรูซ้ายและขวา แลพตำแหน่งซ้าย ขวาและกลางถุงให้การสุกช้ากว่าตำแหน่งกลางถุงที่พื้นที่ช่องเปิดของรูเท่ากัน และสัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดของรูต่อพื้นที่ถุง 0.32%, 0.91% และ 1.36% ให้การสุกของกล้วยไม่แตกต่างกัน 2) รูปแบบการแขวนกล้วยหอมทองแนวดิ่งและไม่พันก้านกล้วยด้วยฟิล์มยืดทำให้ยืดอายุการเก็บของกล้วยได้ดีกว่า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12807 |
Appears in Collections: | Science Tech - Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159428.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License