Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12824
Title: ผลการหมุนเวียนงานต่อสมรรถนะพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลสมุทรสาคร
Other Titles: The effects of job rotation practices on the competency of perioperative nurses at Samutsakhon Hospital
Authors: มุกดา หนุ่ยศรี
อุไรรัตน์ วุ้นประเสริฐ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาาบาลศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี
การหมุนเวียนงาน
การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการหมุนเวียนงานต่อสมรรถนะพยาบาลผ่าตัด โดยการเปรียบเทียบสมรรถนะของพยาบาลผ่าตัดก่อนและหลังการหมุนเวียนงานของพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลสมุทรสาครกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดทั้งหมดจำนวน 21 คน โดยแบ่งพยาบาลผ่าตัดออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมีประสบการณ์น้อย กลุ่มมีประสบการณ์ปานกลาง และกลุ่มมีประสบการณ์สูง ซึ่งได้หมุนเวียนทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือนตามรูปแบบการหมุนเวียนงานของพยาบาลผ่าตัดโรงพยาบาลสมุทรสาครเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) คู่มือการหมุนเวียนงานของพยาบาลผ่าตัด (2) แบบสอบถามก่อนการหมุนเวียนพยาบาลผ่าตัด ซึ่งมี 2 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลผ่าตัด 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการทั่วไปในห้องผ่าตัด 2) ด้านการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด 3) ด้านความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด 4) ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและครอบครัว 5) ด้านการใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด 6) ด้านการสื่อสารและประสานงาน และ 7) ด้านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือในการผ่าตัด (3) แบบสอบถามหลังการหมุนเวียนประกอบด้วย 2 ส่วนคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะทั้ง 7 ด้าน และปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเมื่อนำไปทดลองใช้ได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค 0.83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการศึกษาพบวา ภายหลังการหมุนเวียน พยาบาลผ่าตัดมีสมรรถนะโดยรวมสูงกว่าก่อนการ หมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมรรถนะภายหลังการหมุนเวียนที่สูงกว่าก่อนการหมุนเวียน มี 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านการจัดการทั่วไปในห้องผ่าตัด 2) ด้านความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด 3) ด้านการใช้กระบวนการพยาบาลผ่าตัด 4) ด้านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือในการผ่าตัด ส่วนสมรรถนะที่เหลือ อีก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด 2) ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและครอบครัว 3) ด้านการสื่อสารและประสานงาน ก่อนและหลังการหมุนเวียนไม่แตกต่างกันอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ดังนั้น รูปแบบการหมุนเวียนสามารถนำไปพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผ่าตัดได้ ทั้งนี้พยาบาลผ่าตัดให้ข้อเสนอแนะว่า ควรนำการหมุนเวียนมาปรับใช้กับการทำงานเป็นทีมแบบคู่ขนานกันไป เพื่อให้พยาบาลผ่าตัดเกิดความพึงพอใจและทุกคนสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ รวมทั้งควรขยายระยะเวลาในการหมุนเวียนให้นานขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12824
Appears in Collections:Nurse-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_140475.pdfFulltext_14047518.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons