Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12829
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดชัยนาท |
Other Titles: | Factors associated with participation in village health management implementation of Village Health Volunteers, Chainat Province |
Authors: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ กิตติศักดิ์ กาฬภักดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--ชัยนาท |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และสัมพันธภาพในชุมชน (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพจังหวัดชัยนาท (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลความรู้ในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และสัมพันธภาพในชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพจังหวัดชัยนาท และ (4) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพจังหวัดชัยนาท ประชากร คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จังหวัดชัยนาท จำนวน 9,669 คน คำนวณตัวอย่างได้จำนวน 323 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.74-0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-39 ปี อาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยระหว่าง 6,001-9,000 บาทต่อเดือน ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา สถานภาพสมรสคู่ ระยะเวลาการทำงานระหว่าง 10- 14 ปี ความรู้ในการดำเนินงาน ในหมู่บ้านจัดการสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับน้อย ส่วนสัมพันธภาพในชุมชนอยูในระดับมากที่สุด (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพอยูในระดับน้อย (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และสัมพันธภาพในชุมชน และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ ประชาชนบางคนและกลุ่มองค์กรในชุมชน บางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือการอบรมให้ความรู้ไม่ต่อเนื่อง และงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานยังไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรสร้างพลังชุมชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน สาธารณสุข จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ให้ อสม.อยางต่อเนื่อง และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12829 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148104.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License