Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12833
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorจิดาภา เหล็กอินทร์, 2502-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-28T04:38:57Z-
dc.date.available2024-09-28T04:38:57Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12833en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมคู่หูการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ที่ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยเปรียบเทียบค่า เฉลี่ยดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงและความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานระหว่างก่อนกับหลังให้โปรแกรมฯ ใน 1) กลุ่มทดลอง 2) กลุ่มควบคุม และ 3) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ประชากร คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มโรคที่ประกอบด้วยความผิดปกติร่วมกันและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้วพบภาวะเสี่ยงเบาหวานและผ่านโครงการอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 231 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบง่ายเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 67 คน โดยมี อสม. ที่ได้รับการอบรม อสม. คู่หูเป็นคู่หูคอยชี้แนะตัวต่อตัว และกลุ่มควบคุม จำนวน 134 คน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมคู่หูการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 1) การออกกำลังกาย 2) การปฏิบัติกิจตามพุทธศาสนา 3) การตั้งปณิธานร่วมกันในการลดหรืองดบุหรี่ และสุราและร่วมกันมุ่งมั่นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพเพื่อประเมินผลของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครออนบาช เท่ากับ 0.872 และ 0.908 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองหลังให้โปรแกรมฯมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร6-8 ชั่วโมงลดลง ความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่าก่อนให้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มควบคุมวัดหลังให้โปรแกรมฯ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิกระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ลดลงและความรู้เกี่ยวกับโรค เบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังให้โปรแกรมฯ พบว่า มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดันซิสโตลิก ไดแอสโตลิก ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สูงกว่ากลุ่มควบคุม และระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.titleการศึกษาผลของโปรแกรมคู่หูการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่th_TH
dc.title.alternativeStudy on the effects of the buddy program on health behavior modification for reducing diabetic risk in at-risk groups in Thung Khaeo Subdistrict, Nong Muang Khai District, Phrae Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this quasi-experimental research was to study the effect of the Buddy Program on Health Behavior Modification for Reducing Diabetic Risk in At-Risk Groups in Thung Khaeo subdistrict, Nong Muang Khai district, Phrae Province. The Program applied the health belief model and social support by comparing body mass index (BMI), waistline, systolic and diastolic blood pressure, fasting blood sugar, and diabetes knowledge before and after receiving or practising Program activities: (1) within the experimental group; (2) within the control group; and (3) between the experimental and control groups. The study population was 231 people aged 15 years or older who had been screened for common abnormality and type-2-diabetes risk factors, coronary heart disease, and stroke with diabetes risk, and had attended the Program training. Of all the participants, 67 were randomly assigned to the experimental group to carry out the Program activities under the supervision of their buddies (additionally trained village health volunteers) on a one-on-one basis and 134 to the control group. The study tools including diabetes risk reduction activities included: (1) exercise; (2) Buddhist ritual practices; (3) joint resolution to reduce or quit smoking and drinking and joint commitment to health behavior modification; and (4) a health behavior evaluation form for assessing BMI, waistline, systolic and diastolic blood pressures, fasting blood sugar, and diabetes knowledge. The content validity of the tool assessed by three experts and the reliability value (Cronbach's alpha coefficient) were 0.872 and 0.908, respectively. Data were analyzed determine percentages, means, and standard deviation, and perform t-test. The results revealed that after practising the Program activities: (1) the experimental group had significantly smaller/lower BMI, waistline, systolic and diastolic blood pressure, and fasting blood sugar, and higher diabetes knowledge, compared with those before the intervention; (2) the control group also had significantly smaller/lower BMI, waistline, systolic and diastolie blood pressure, and fasting blood sugar, and higher diabetes knowledge; and (3) there were no differences in the two groups' BMI, waistline, systolic and diastolic blood pressure, but the experimental group's had significantly better diabetes knowledge and lower fasting blood sugar than the control group.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148447.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons