กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12833
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของโปรแกรมคู่หูการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on the effects of the buddy program on health behavior modification for reducing diabetic risk in at-risk groups in Thung Khaeo Subdistrict, Nong Muang Khai District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร
จิดาภา เหล็กอินทร์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมสุขภาพ
การศึกษาอิสระ -- บริหารสาธารณสุข
เบาหวาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมคู่หูการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ที่ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยเปรียบเทียบค่า เฉลี่ยดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงและความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานระหว่างก่อนกับหลังให้โปรแกรมฯ ใน 1) กลุ่มทดลอง 2) กลุ่มควบคุม และ 3) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ประชากร คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มโรคที่ประกอบด้วยความผิดปกติร่วมกันและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้วพบภาวะเสี่ยงเบาหวานและผ่านโครงการอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 231 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบง่ายเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 67 คน โดยมี อสม. ที่ได้รับการอบรม อสม. คู่หูเป็นคู่หูคอยชี้แนะตัวต่อตัว และกลุ่มควบคุม จำนวน 134 คน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมคู่หูการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 1) การออกกำลังกาย 2) การปฏิบัติกิจตามพุทธศาสนา 3) การตั้งปณิธานร่วมกันในการลดหรืองดบุหรี่ และสุราและร่วมกันมุ่งมั่นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพเพื่อประเมินผลของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครออนบาช เท่ากับ 0.872 และ 0.908 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองหลังให้โปรแกรมฯมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร6-8 ชั่วโมงลดลง ความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่าก่อนให้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มควบคุมวัดหลังให้โปรแกรมฯ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิกระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ลดลงและความรู้เกี่ยวกับโรค เบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังให้โปรแกรมฯ พบว่า มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดันซิสโตลิก ไดแอสโตลิก ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สูงกว่ากลุ่มควบคุม และระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12833
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_148447.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons