Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12838
Title: | พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน หมู่ที่ 9 เทศบาลตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร |
Other Titles: | Behaviors of people in household solid waste management in community no.9 of Paknam Chumphon Subdistrict Municipality in Mueang District, Chumphon Province |
Authors: | สมโภช รติโอฬาร ทิฏฐานุรี พาโอภาส, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี ขยะ--การจัดการ--ไทย--ชุมพร การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และสถานภาพในชุมชน (2) ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน (3) พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่หมู่ที่ 9 เทศบาลตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ที่มีบทบาทหลักในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 คน ทั้งหมด 471 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ด้านความรู้ใช้ข้อคำถามที่มีค่าความยากง่ายที่ยอมรับ อยู่ในช่วงระหว่าง 0.30-0.8 0 และค่าอำนาจจำแนกมีค่า ระหว่าง 0.20 ถึง 0.60 ด้านทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.73 และ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนที่มีหน้าที่หลักในการจัดการขยะในครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 64.3 อายุมากที่สุด 40-49 ปี ร้อยละ 23 ระดับการศึกษาสูงสุดระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 53.3 ด้านอาชีพมากที่สุดคือ อาชีพรับจ้างร้อยละ 46.5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนพบมากที่สุด 5,001 - 10,000 บาท ต่อเดือนร้อยละ 51.0 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนมากที่สุด 41 ปีขึ้นไปร้อยละ 31.8 ด้านสถานภาพในชุมชนส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไปร้อยละ 93 (2) ประชากรที่ศึกษามีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 50.7ระดับปานกลาง (3) พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.1 ระดับปานกลาง และ (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน พบว่า ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างต่ำ (Is = 0.172) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12838 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_154879.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License