Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12842
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยา ประเสริฐชัยth_TH
dc.contributor.authorนิธิรัตน์ บุษปะเกศ, 2534-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-30T07:11:41Z-
dc.date.available2024-09-30T07:11:41Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12842en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร 2) คุณลักษณะทางประชากรและสังคม การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกองทุน และการบริหารจัดการกองทุน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากรและสังคม การรับรู้ประโยชน์ของประชาชนเกี่ยวกับกองทุน และการบริหารจัดการกองทุนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการชุมชนที่อาศัยในชุมชนที่จดทะเบียนจัดตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 14,490 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 374 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.931 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคว์สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาอยู่ในระดับ อนุปริญญา หรือ ปวส. มีอาชีพ ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ รายได้ต่อเดือน 10,001 บาท -20,000 บาท และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ น้อยกว่า 11 ปี มีการรับรู้เกี่ยวกับกองทุน ส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง และการบริหารจัดการกองทุน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการมอบอำนาจในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) อายุ สถานภาพ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และการบริหารจัดการกองทุน พบว่ามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกองทุน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ควรประชาสัมพันธ์กองทุนโดยการแจ้งให้ผู้นำชุมชนทราบข่าวสารการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่กรุงเทพมหานครth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร--การจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativePeople’s participation in Health Security Fund Operations under the Bangkok Metropolitan Administrationth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were to: (1) assess the level of public participation in the operations of the Health Security Fund of the Bangkok Metropolitan Administration (BMA); (2) identify demographic and social characteristics of community committee members as well as their perceptions about the Fund and fund management; and (3) examine the relationship between committee members' demographic and social characteristics, public perceptions of the funds and fund management, and public participation in the operations of the BMA Health Security Fund. The study was conducted in a sample of 374 members randomly selected from all 14,490 members of BMA's registered Community Committees. Data were collected using a questionnaire with the reliability value or Cronbach's alpha coefficient of 0.931. Descriptive statistics such as percentages, means and standard deviations were applied. Chi-square test and Spearman correlation analysis were used to determine the relationships between these variables. The results showed that: (1) the levels of public participation in the operations of the BMA Health Security Fund were at a moderate level; (2) among all respondents, most of them were married females in the age group 51-60 years, and diploma or higher vocational ceitificate holders, worked as state officials, had an average monthly income of 10,001-20,000 baht, and had been living in the communities for less than 11 years. Regarding the awareness about the Fund, most of them knew about the BMA Health Security Fund Committee and about fund management, especially authority delegation in decision-making, at a moderate level; and (3) Age, marital status, community-residence periods and fund management were significantly associated with people's participation in the operations of the BMA Health Security Fund. whereas public perceptions of the Fund were not related to people's participation in the operations of the Fund. It is thus suggested that, to enhance people's participation in the operations of the BMA Health Security Fund, such operations including fund management activities should be publicized and communicated with all community leaders in all communities in Bangkok.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_163399.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons