Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12848
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorปนัดดา ถาวรตระการ, 2522-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-30T07:38:52Z-
dc.date.available2024-09-30T07:38:52Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12848en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะสังคมประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน (2) การปฏิบัติงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะสังคมประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการสนับสนุนการปฏิบัติงาน กับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออก และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) สัญชาติพม่า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 393 คน คำนวณได้จำนวนตัวอย่าง 195 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ได้แปลเป็นภาษาพม่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะสังคมประชากรของกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 28.72 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีพทำการประมง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8,765.03 บาท จำนวนสมาชิกที่พักอาศัยอยู่ในครัวเรือนจำนวน 1-3 คน ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว เฉลี่ย 2.52 ปี ความรู้เรื่องไข้เลือดออกอยู่ในระดับต่ำ ส่วนใหญ่ได้รับสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ร้อยละ 71.3 รองลงมาเป็นด้านวัสดุอุปกรณ์ การได้รับการฝึกอบรม และงบประมาณ ตามลำดับ (2) การปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสต.ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา โดยจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (4) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญคือ การลงชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขเนื่องจากเวลาว่างไม่ตรงกัน และปัญหาการช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้สุขศึกษา เนื่องจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันข้อเสนอแนะคือ ผู้รับผิดชอบงาน อสต. ในระดับจังหวัด ควรประสานงานในการจัดเวลาเพื่อทำกิจกรรมสาธารณสุขล่วงหน้า และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อแผ่นพับที่แปลเป็นภาษาพม่า อสต. สามารถเข้าใจได้ง่ายth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--สมุทรสาครth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครth_TH
dc.title.alternativeFactors related to dengue hemorrhagic fever prevention among migrant health volunteers in Mueang District, Samut Sakhon Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were: (1) to identify socio-demographic characteristics, dengue hemorrhagic fever (DHF) knowledge, and operational support; (2) to determine the performance of DHF prevention; (3) to determine the relationship between socio-demographic characteristics, DHF knowledge, as well as operational support, and DHF prevention performance; and (4) to identify problems/obstacles and make suggestions for improving DHF prevention, all involving migrant health volunteers (MHVs) in Mueang district of Samut Sakhon province. The study was conducted in a sample of 195 MHVs, selected using the simple random sampling method from 393 MHVs in Samut Sakhon's Mueang district. Data were collected using a questionnaire that had been translated into the Myanmar language with the reliability value of 0.80. Statistics used for data analysis were percentages, means, chi-square test and Pearson's product-moment correlation coefficient. The results revealed that: (1) of all respondents or MHVs, most of them were male and single; their mean age was 28.72 years; they had completed high school, fishing occupation, an average monthly income of 8,765 baht, 1-3 family members, and 2.52 years of experience as volunteers; their DHF knowledge was at the low level; most of them (71.3%) received operational support ineluding information and knowledge about DHF, followed by related materials, training, and budget; (2) their overall performance of DHF prevention was at the moderate level; (3) the factors significantly related to their DHF prevention performance were marital status and educational level (p< 0.05); the number of family members was positively correlated with DHF prevention at the low level; and (4) major problem/obstacle was the untimeliness in community-based actions together with health officials, particularly in giving health education, and miscommunication. So it is suggested that the provincial health officials responsible for this matter should coordinate and prepare field work schedules well in advance and increase the channels of public communications using Burmese-language leaflets for easy understanding among the volunteers.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156378.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons