กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12848
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to dengue hemorrhagic fever prevention among migrant health volunteers in Mueang District, Samut Sakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
ปนัดดา ถาวรตระการ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--สมุทรสาคร
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะสังคมประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน (2) การปฏิบัติงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะสังคมประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการสนับสนุนการปฏิบัติงาน กับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออก และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) สัญชาติพม่า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 393 คน คำนวณได้จำนวนตัวอย่าง 195 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ได้แปลเป็นภาษาพม่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะสังคมประชากรของกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 28.72 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีพทำการประมง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8,765.03 บาท จำนวนสมาชิกที่พักอาศัยอยู่ในครัวเรือนจำนวน 1-3 คน ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว เฉลี่ย 2.52 ปี ความรู้เรื่องไข้เลือดออกอยู่ในระดับต่ำ ส่วนใหญ่ได้รับสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ร้อยละ 71.3 รองลงมาเป็นด้านวัสดุอุปกรณ์ การได้รับการฝึกอบรม และงบประมาณ ตามลำดับ (2) การปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสต.ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา โดยจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (4) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญคือ การลงชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขเนื่องจากเวลาว่างไม่ตรงกัน และปัญหาการช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้สุขศึกษา เนื่องจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันข้อเสนอแนะคือ ผู้รับผิดชอบงาน อสต. ในระดับจังหวัด ควรประสานงานในการจัดเวลาเพื่อทำกิจกรรมสาธารณสุขล่วงหน้า และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อแผ่นพับที่แปลเป็นภาษาพม่า อสต. สามารถเข้าใจได้ง่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12848
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_156378.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons